รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าอินเดีย: 4 กรกฎาคม 2560 (อินเดีย)
วิเคราะห์การแถลงการณ์ร่วมระหว่างอินเดียและสหรัฐอเมริกา
ภายหลังการเข้าพบผู้นำโลกเสรีอย่างประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ ของนายกรัฐมนตรีอินเดีย นายนเรนทระ โมที เมื่อวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2560 ณ ทำเนียบขาวสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน อันนำไปสู่จุดยุทธศาสตร์ร่วมของทั้งสองประเทศซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติที่มีร่วมกันภายใต้ค่านิยมเดียวกันอย่างประชาธิปไตย ทั้งนี้เราสามารถแบ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวออกเป็น 3 ประเด็นด้วยกัน คือ
ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจและการค้าการลงทุน
ประเด็นทางด้านความมั่นคงร่วมกันภายในภูมิภาคเอเชียใต้ และสุดท้าย
ประเด็นทางด้านการเมืองในประชาคมโลก
Source: The Economic Times
ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจและการค้าการลงทุน
อินเดียประเทศที่มีประชากรถึง 1,200 ล้านคนซึ่งเป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศจีน มีขนาดเศรษฐกิจ(GDP)เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ยิ่งไปกว่านั้นอำนาจในการซื้อหรือ PPP (Purchasing Power Parity) ของอินเดียยังอยู่ในลำดับต้นๆของโลกอีกด้วย เป็นรองเพียงแค่สหรัฐฯและจีน อย่างไรก็ตามสำหรับสหรัฐฯแล้ว การส่งออกสินค้าสหรัฐฯไปยังตลาดภายในของอินเดียยังมีปริมาณที่น้อยอยู่ ดังจะเห็นได้จากอินเดียเป็นตลาดส่งออกสินค้าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของสหรัฐฯในปี 2016 สืบเนื่องมาจากอัตราภาษีนำเข้าที่สูงต่อสินค้าสหรัฐฯของอินเดีย ทำให้สหรัฐขาดดุลการค้ากับอินเดียมาโดยตลอดและยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2015 และ 2016 สหรัฐฯขาดดุลถึง 23,337.1 และ 24,380.14 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประธานาธิบดีดอนัลด์ทรัมป์ต้องการที่จะให้อินเดียลดข้อจำกัดทางการค้าลง(Tariff) เพื่อให้สินค้าสหรัฐฯสามารถเข้าไปในตลาดอินเดียได้มากขึ้น ถือเป็นการสร้างงานภายในสหรัฐฯอันนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นของทั้งสองประเทศโดยสอดคล้องกับทัศนคติของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์เอง ที่ว่า “Making American Great Again”
ขณะเดียวกันภายหลังการขึ้นมาดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีนายนเรนทระ โมทีมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันนโยบายหลายๆอย่างในการน าไปสู่ “New India” ตามความคิดความเชื่อของนายกรัฐมนตรีนายนเรนทระ โมทีเอง ไม่ว่าจะเป็นการประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรใบละ 500 และ 1,000 รูปี เพื่อปฎิรูประบบการเงินของอินเดียให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้นอันเป็นพื้นฐานอันนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบดิจิตอลในอนาคต และอีกหลายนโยบาย เช่น Make inIndia, Skill India, Start Up, Smart City และสุดท้ายนโยบายปฏิรูปโครงสร้างภาษีสินค้าและบริการ (GST) ซึ่งกำลังจะบังคับใช้เป็นกฎหมายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2017 หรือเพียง 5 วันหลังการเข้าพบปะหารือกับประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์เท่านั้น
ในทางการทูตแล้ว การเดินทางไปเยือนต่างประเทศของผู้นำรัฐบาลนั้นแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อประเทศที่จะไปเยือนเป็นอย่างมาก การที่นายกรัฐมนตรีนายนเรนทระ โมทีเดินทางไปเยือนทำเนียบขาวเพียง 5 วัน ก่อนประกาศใช้ GST ทำให้ได้ข้อสังเกตว่า หนึ่งในข้อหารือระหว่างผู้นำก็คงหนีไม่พ้น อินเดียต้องการเชิญชวนให้นักธุรกิจหรือเงินทุนจำนวนมหาศาลจากสหรัฐฯเข้าไปลงทุนในตลาดอินเดียมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการเชิญชวน Ivanka Trump เข้าร่วมงาน The Global Entrepreneurship Summit In India 2017 เพื่อหวังที่จะเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียผ่านการลงทุนจากสหรัฐฯพร้อมกับการดำเนินความสะดวกแก่การลงทุนจากต่างชาติผ่านนโยบายต่างๆของนายกรัฐมนตรีนายนเรนทระ โมทีที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ตามมากับการลงทุนจากต่างประเทศไม่ได้เข้ามาเพียงแค่เงินลงทุนเพียงเท่านั้น แต่มาพร้อมกับการถ่ายโอนเทคโนโลยี ความรู้ต่างๆจากประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯอีกด้วย การเชิญชวนก็ดีการเตรียมความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานก็ดีและ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบที่เอื้อให้เกิดการลงทุนก็ดีเป็นตัวชี้วัดที่ส าคัญในความพยายามอย่างยิ่งของอินเดียที่จะเป็น “Global Engine Of Growth” ผ่านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
ประเด็นทางด้านความมั่นคงร่วมกัน
การมีอัตลักษณ์ทางการเมืองร่วมที่คล้ายกันทางการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยระหว่างสหรัฐฯและอินเดีย ได้นำไปสู่ความกังวลร่วมจากการเผชิญประเด็นปัญหาที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันอย่างเห็นได้ชัด หนึ่งในประเด็นปัญหาดังกล่าวคงหนีไม่พ้นประเด็นปัญหาทางด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่อย่างภัยการก่อการร้ายที่ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นภายหลังเหตุการณ์ 9/11 ภัยการก่อการร้ายดังกล่าวได้มีลักษณะข้ามแดนจึงเป็นเหตุผลให้รัฐต่างๆที่เคยสามารถแก้ไขปัญหาในเขตแดนตนเองได้ ไม่สามารถรับมือกับประเด็นปัญหาข้ามแดนที่เกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่ร่วมมือกับประเทศต่างๆ ดังนั้นการที่ประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดทั้งสองประเทศเดินหน้าหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นจากภัยการก่อการร้ายที่รุกลามไปทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
อินเดียนั้นตระหนักถึงภัยการก่อการร้ายเป็นอย่างดี การยกระดับความสัมพันธ์ทางการทหารกับสหรัฐฯในประเด็นด้านความมั่นคงให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นผ่านการซ้อมรบร่วมกันก็ดีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารก็ดีและการใช้กองกำลังทหารก็ดีได้สร้างผลประโยชน์ให้แก่อินเดีย 2 ประการด้วย
1). การสร้างความมั่นคงในดินแดนพิพาทระหว่าง อินเดียและปากีสถานที่มีมาอย่างยาวนานภายหลังการแยกตัวของปากีสถานโดยอินเดียได้อาศัยความใกล้ชิดของสหรัฐฯที่มีต่อปากีสถานเป็นแรงกดดันให้ปากีสถานยกเลิกการสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่มีที่ตั้งอยู่ในปากีสถานลงซึ่งเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอินเดีย
2). สืบเนื่องจากอินเดียมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี2016-2017ถึง7.4%6 ซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆของเอเชียและของโลก ทำให้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต อย่างไรก็ตามการที่อินเดียไม่สามารถผลิตพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานเชื่อเพลิงจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในผลประโยชน์ในหลายๆอย่างที่อินเดียได้รับจากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับสหรัฐฯในการปกป้องประชาธิปไตยและรักษาความสงบในอัฟกานิสถานเพื่อต่อสู่กับกลุ่มก่อการร้ายตาลีบันก็คงหนีไม่พ้น ความพยายามจะนำเข้าพลังงานจากเอเชียกลางซึ่งอุดมไปด้วยน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติถ่านหินและยูเรเนียมเป็นจำนวนมากซึ่งต้องลำเลียงพลังงานดังกล่าวผ่าน อัฟกานิสถานเพื่อนำเข้าสู่อินเดีย ดังนั้นความร่วมมือระหว่างอินเดียและสหรัฐฯในการสร้างอัฟกานิสถานให้มีความมั่นคง ปลอดภัยจากภัยการก่อการร้ายที่กำลังคุมคามอธิปไตยของอัฟกานิสถานจึงได้ว่าเป็นปัญหาลำดับต้นๆที่ทั้งทางสหรัฐฯและอินเดียให้ความสนใจ มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐฯกำลังขอให้อินเดียส่งกองกำลังทหารจำนวน 15,000 คน เข้าร่วมกับกองกำลังทหารสหรัฐฯและนาโต้เพื่อเข้าต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายตาลีบันต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นการที่อินเดียเข้าไปมีอิทธิพลภายในอัฟกานิสถานก็เพื่อด าเนินนโยบายปิดล้อมปากีสถานอีกทางหนึ่งด้วย
ประเด็นทางด้านการเมืองในประชาคมโลก
การที่อินเดียจะก้าวเข้ามามีบทบาทนำในเวทีระหว่างประเทศนั้นสิ่งสำคัญเลยก็คือการแสดงศักยภาพให้ประชาคมโลกประจักษ์ถึงความสำคัญและบทบาทนำของอินเดียในภูมิภาคเอเชียใต้ผ่านการเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาคและ เสริมสร้างบทบาทไปสู่ภูมิภาคอื่นๆภายใต้การให้ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ อินเดียเริ่มต้นด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินล็อตใหญ่จากสหรัฐฯที่มีจำนวนทั้งสิ้น 100 ลำ ขณะเดียวกันคาดการณ์ว่าจะมีการสั่งซื้อโดรนขับไล่และโดรนคุ้มกันจากสหรัฐฯ จึงถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของอินเดียต่อการพยายามจะสานสัมพันธ์ทั้งทางการทหารและทางการเมืองกับสหรัฐฯอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยเสริมเคี้ยวเล็บให้กับอินเดียในอีกทางหนึ่งด้วย
ยิ่งไปกว่านั้นการพยายามผูกมิตรทางการเมืองของดินเดียดังกล่าว จะเห็นได้ว่าอินเดียพยายามผลักดันให้สหรัฐฯสนับสนุนให้อินเดียเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศองค์การใดองค์การหนึ่ง โดยคาดการณ์ว่าอินเดียพยายามจะเป็นหนึ่งในคณะมนตรีความมั่นคงไม่ถาวรแห่งสหประชาชาติและ Nuclear Suppliers Group เพื่อเป็นการเสริมสร้างบทบาทและปฎิรูปภาพลักษณ์ของประชาคมโลกที่มีต่ออินเดียเสียใหม่ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศของนายกรัฐมนตรีนายนเรนทระ โมที อันนำไปสู่ “New India” อันจะนำไปสู่เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ตลาดอินเดียในอนาคต
แม้ว่าในการแถลงการณ์ดังกล่าวจะไม่ได้พูดอ้างอิงถึงจีนเลยก็ตาม แต่การที่อินเดียอ้างว่าการรักษาสันติภาพความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก คือหนึ่งในยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างอินเดียและสหรัฐฯในการปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกครอบคุมตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียจรดมหาสมุทรแปซิฟิกื ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของข้อพิพาทระหว่างประเทศมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือเหตุการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีซึ่งนำโดยเกาหลีเหนือ เมื่อนำนโยบายดังกล่าวของทั้งสองประเทศมาประกอบกับการที่อินเดียดำเนินนโยบายคว่ำบาตรเกาหลีเหนือเพิ่มเติมตามคำแนะนำของรัฐบาลสหรัฐฯ จะทำให้เห็นว่าอินเดียมีความพยายามอย่างยิ่งในการก้าวขึ้นมามีบทบาทนำในเวทีระหว่างประเทศอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านการแก้ไขปัญหาคาบสมุทรเกาหลีซึ่งเป็นปัญหาที่อยู่นอกภูมิภาคของตน
Source: The Indian Express
สรุป
จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า อินเดียกำลังหลีกหนีอิทธิพลของจีนที่กำลังแผ่ขยายมาสู่ภูมิภาคเอเชียใต้ผ่านนโยบาย One Belt One Road ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงที่ต้องการนำเอาอินเดียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายดังกล่าว แต่อินเดียกลับปฎิเสธการเข้าประชุมดังกล่าว การดึงเอาสหรัฐฯเข้ามาจึงเป็นส่วนหนึ่งของการ Balance of Power ของอินเดียกับจีนผ่านความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงร่วมกัน ขณะเดียวกันการจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวในการจะก้าวเข้ามามีบทบาท มีอำนาจและอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียใต้นั้นอินเดียต้องกลับมากระตือรือร้น (active)ในการพยายามสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาคมโลกให้ยอมรับอินเดียผ่านความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงบทบาทนำในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ การผลักดันตัวเองของอินเดียในการพยายามที่จะเป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจ(จีนสอง) ให้เทียบเคียงกับจีนผ่านความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากสหรัฐฯจะสำเร็จหรือไม่? และความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถดำรงอยู่และดำเนินต่อไปได้นานถึงเพียงใดก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า อินเดียจะสามารถทำให้สหรัฐฯเปลี่ยนจากการเรียกตนเองว่า True Friend ไปเป็น My Friend ของสหรัฐฯได้อย่างไร
Source: The Economic Times. Jun 27, 2017
Sources:
1. The Indian Express, 'When is PM Narendra Modi meeting Trump' (26/062017)
2. Joshua P. Meltzer, "India-U.S: Economic and Trade relations, Brookings India, (04/06/2017)
3. Ibid
4. United States Census Bureau, 'Trade in Goods with India'
7. Ariel Cohen, "U.S Interest and Central Asia Energy Security", The Heritage Foundation, (15/11/2016)
8. Suhasini Haidar, Op.cit.
9. Ibid.
10. Ibid.