ฐานเศรษฐกิจ: มองอินเดียใหม่ (ตอนที่ 76)
E-Waste ในอินเดีย
E-waste หรือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนึ่งในปัญหาของสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากค่านิยมในการใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทันสมัย เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้หมดอายุการใช้งานก็จะกลายเป็นขยะอันตรายหากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามกรรมวิธีค่ะ
เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หมดอายุการใช้งานก็จะกลายเป็นขยะอันตราย หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามกรรมวิธีอินเดียเองก็กำลังเผชิญปัญหา E-waste โดยเมื่อปี 2548 อินเดียมี E-waste ประมาณ 1.47 แสนตัน คาดว่าปริมาณจะเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่าในปี 2568 ซึ่งนอกจากปริมาณ E-waste ที่เกิดขึ้นในอินเดียเองแล้ว ยังมีประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศที่ได้ลักลอบส่ง E-waste ไปยังอินเดีย จีน และประเทศด้อยพัฒนาอื่น ๆ ในแอฟริกาด้วย ทำให้ปัญหา E-waste เป็นปัญหาที่รัฐบาลและประชาชนจะต้องหันมาให้ความสนใจในการแก้ไขอย่างจริงจัง และเป็นที่มาของ อนุสัญญาบาเซิลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน ปี 2535 ซึ่งทั้งอินเดียและไทยเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย
บ่อยครั้งที่คนรับซื้อของเก่า นำอุปกรณ์ดังกล่าวไปขายต่อให้แก่ผู้รับซื้อโลหะรายย่อยที่ไม่มีกรรมวิธีกำจัด E-waste แต่อย่างใด หรือเป็นการกำจัด E-waste ที่ไม่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ปี 2554 อินเดียมีกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีหน้าที่รับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้วคืนเพื่อนำไปกำจัดอย่างปลอดภัย แต่บริษัทผู้ผลิต ยังไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากนิสัย "รักสบาย" ของชาวอินเดียซึ่งนิยมขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้วให้แก่คนรับซื้อของเก่าตามบ้าน (Kabadiwallah) มากกว่า
บ่อยครั้งที่คนรับซื้อของเก่า นำอุปกรณ์ดังกล่าวไปขายต่อให้แก่ผู้รับซื้อโลหะรายย่อยที่ไม่มีกรรมวิธีกำจัด E-waste แต่อย่างใด หรือเป็นการกำจัด E-waste ที่ไม่มีประสิทธิภาพการนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปขายคืนที่ร้านค้า ฟังดูแล้วก็ "รักสบาย" คล้าย ๆ พี่ไทยเราเลยนะคะ ดังนั้น ที่ผ่านมาคนรับซื้อของเก่าก็จะนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปขายต่อให้แก่ผู้รับซื้อโลหะรายย่อยที่ไม่มีกรรมวิธีกำจัด E-waste แต่อย่างใด หรือเป็นการกำจัด E-waste ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
ผู้ที่ตกที่นั่งลำบากที่สุดก็คือ บริษัท Attero ซึ่งเป็นบริษัทกำจัด E-waste ของอินเดียนั่นเอง เนื่องจากกว่า 95% ของ E-waste ในอินเดียไม่ผ่านมายังโรงบำบัด E-waste ของบริษัท จนล่าสุด International Finance Corporation (IFC) และบริษัท Attero ได้ค้นพบไอเดียใสปิ๊งในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยบริษัท จะใช้เครือข่ายที่มีอยู่แล้วของคนซื้อของเก่าตามบ้านรับซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานในครัวเรือนแล้ว แลกกับบัตรกำนัลซึ่งสามารถนำไปแลกซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ได้ตามร้านค้า
ชาวอินเดียนิยมขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้วให้แก่คนรับซื้อของเก่าตามบ้าน (Kabadiwallah) มากกว่าการนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปขายคืนที่ร้านค้า โดยปัจจุบันมีบริษัทร่วมโครงการดังกล่าวจำนวน 15 บริษัท เช่น Voltas, Samsung, Wipro และ HCL และคาดว่าจะมีบริษัทอื่น ๆ เข้าร่วมโครงการอีกกว่า 200 บริษัทในอนาคตอันใกล้และได้เริ่มวางระบบการจัดการ E-waste แบบใหม่นี้แล้วที่กรุงนิวเดลี เมืองมุมไบ เมืองไฮเดอร์ราบาด และเมืองอาห์เมดาบาด
ชาวอินเดียนิยมขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้วให้แก่คนรับซื้อของเก่าตามบ้าน (Kabadiwallah) มากกว่าการนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปขายคืนที่ร้านค้า เห็นมั้ยคะว่าขนาดบริษัทอินเดียเองก็ยังประสบปัญหาได้ หากไม่ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนให้เข้ากับจริตและความคุ้นเคยของผู้บริโภค เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องหนึ่งว่าผู้ประกอบการจะต้องมีความเข้าใจในพฤติกรรมและความนิยมของผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะเริ่มประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตาม อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของผู้ประกอบการหรือระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์มากที่สุดด้วย ดังนั้น การมีหุ้นส่วนเป็นบริษัทอินเดียหรือชาวอินเดียจะช่วยทุ่นเวลาในการศึกษาเรื่องต่าง ๆ ให้แก่บริษัทไทยได้มากกว่าการลงทุนศึกษาวิจัยด้วยตนเองอย่างแน่นอนค่ะ
โดย กนกภรณ์ คุณวัฒน์
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,841 วันที่ 5-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556