สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์: 12-18 สิงหาคม 2560 (อินเดีย)
1.ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขายส่งเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า: มอร์แกนสแตนลีย์
CPI, WPI inflation to rise further in coming months: Morgan Stanley
Source: The Economic Times
มอร์แกนสแตนลีย์ กล่าวว่า ในเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อค้าปลีกและค้า ส่งเร่งตัวขึ้น และแนวโน้มขึ้นอีกต่อไปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยภาพรวมของการเงินโลกทั้งดัชนี ราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขายส่งมีอัตราเงินเฟ้อต่ำลงในเดือนมิถุนายน 2560 และคาดว่าจะ เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้น 1.88% ในเดือนกรกฎาคม 2560 จาก 0.90% ในเดือนมิถุนายน 2560 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับตัว ของราคาสินค้าอาหารโดยเฉพาะผัก
สำหรับอัตราเงินเฟ้อรายย่อยเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.36% ในเดือนนี้ ส่วนใหญ่มาจากการราคาที่ สูงขึ้นของสินค้าน้ำตาล ขนมหวาน กระทะ ยาสูบ และของมึนเมา นอกจากนี้มอร์แกนสแตนลีย์ กล่าวในรายงานการวิจัยเพิ่มเติม ."เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขายส่ง ในเดือนสิงหาคม 2560 จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.0% และ 2.1% ตามลำดับ ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวโน้มใน ปัจจุบันของราคาอาหารและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามมอร์แกนสแตนลีย์ ยังคงยืนยันว่าธนาคารกลางของอินเดียไม่น่าจะปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อลงอีก เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะค่อยๆกลับไปสู่เป้าหมายที่ 4% รายงานดังกล่าวคาดว่าอัตราเงินเฟ้อดัชนี ราคาผู้บริโภคจะเพิ่มสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม 2560 นี้ สำหรับการผ่อนคลายนโยบายการเงิน รายงานกล่าวว่ามีความจำเป็นต้องเห็นการชะลอตัวของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
วิเคราะห์: การปรับตัวอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อภาคส่วนของดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคา ขายส่งของอินเดียจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจัดจ่ายใช้สอยของประชาชนในระยะยาว
Source: THE ECONOMIC TIMES. 16 AUG, 2017
2. คณะกรรมการกลางกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร (CBEC) ของอินเดียกำลังมีการจัดทำ คลังข้อมูลสำหรับการนำเข้าสินค้า
CBEC to build information repository on imports
นิวเดลี: คำถามที่ยังคงเป็นที่กังขาในการนำเข้าสินค้าบางประเภทมายังอินเดียยังคงเป็นที่ ถกเถียงไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ว่าสรุปแล้วเนื้อสัตว์ชนิดพิเศษอะไรบ้างที่ สามารถนำเข้ามายังอินเดียได้ และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนอะไรบ้าง
Source: The Economic Times
ซัพพลายเออร์ทั่วโลกให้ความสนใจกับ เศรษฐกิจที่กำลังเติบโตของอินเดีย โดยคาดว่าในไม่ช้านี้ อินเดียจะสามารถดำเนินงานในการตอบคำถามข้างต้น โดยอาศัยเพียงช่องทางเดียว ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแก้ไข ปัญหาความซับซ้อนของข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเสมือน เขาวงกตของการแจ้งเตือนที่ข้อมูลจำนวนมาก หลากหลายรายการกระจายตัวอยู่ทั่วเว็บไซต์ต่างๆของ กระทรวงหรือหน่วยงานที่ค่อนเข้าถึงยากลำบาก
ทั้งนี้ปัจจุบันคณะกรรมการกลางกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร (CBEC) ของอินเดีย กำลังมีการดำเนินงานในการจัดทำศูนย์ให้ข้อมูลในลักษณะที่เดียวจบสำหรับผู้ส่งออกสินค้ามายัง ประเทศอินเดีย ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ส่งออกมีความเข้าใจการดำเนินงานและลักษณะ งาน รวมถึงประเภทสินค้าที่สามารถส่งออกมาได้ ผ่านทางเว็ปไซด์หรือแอพพลิเคชั่น ซึ่งสะดวกต่อ การใช้งานมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของการดำเนินงานดังกล่าวคือทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้ช่วยเบื้องต้น สำหรับผู้ส่งออกสินค้าที่สนใจส่งสินค้ามายังอินเดีย แต่ติดปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูล ศูนย์ข้อมูล ดังกล่าวจะช่วยให้การดำเนินงานสะดวกมากยิ่งขึ้นในการได้ขอมูลเพียงคลิกเมาส์หรือกดดูตามหน้าจอมือถือเท่านั้น ที่สำคัญเชื่อว่าการเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจะลดการติดขัดทางด้านการ กระทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจในอินเดียด้วย
การดำนินงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการอำนวยความ สะดวกด้านการค้า CBEC ยังได้เปิดตัวแนวทางเพื่อส่งเสริมให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสามารถยื่น แบบฟอร์มเดียวที่ท่าเรือเพื่อขอรับการประเมินด้านต่างๆจากหน่วยงานรัฐบาล ได้แก่หน่วยควบคุม สารเสพติดของประเทศอินเดีย หน่วยงานกักกันพืช และสำนักงานความปลอดภัยและมาตรฐาน อาหารแห่งอินเดีย โปรแกรมนี้อนุญาตให้มีการประเมินความเสี่ยงที่ศุลกากรด้วยเช่นกัน รัฐบาล อินเดียได้ใช้แผนปฏิบัติการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าแห่งชาติซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง ขั้นตอนในการทำธุรกิจให้ง่ายขึ้น
สำหรับปัจจุบันธนาคารโลกจัดอันดับการทำธุรกิจข้ามพรมแดนในประเทศอินเดียให้อยู่ที่ อันดับที่ 133 เนื่องมาจากผลของการทำงานทางด้านเอกสารที่ล่าช้า รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มีสูงจาก การดำเนินกิจกรรมดังกล่าว โดยพบว่าการดำเนินงานในด่านพรมแดนในการส่งออกใช้ระยะเวลา ถึงกว่า 311 ชั่วโมง กล่าวคือในขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วใช้เวลาดำเนินเอกสารเพียง 4 ชั่วโมง อินเดียจะใช้เวลาถึง 67 ชั่วโมงในการดำเนินงาน ทั้งนี้รัฐบาลอินเดียกำหนดให้การอำนวยความ สะดวกทางด้านการค้าเป็นจุดขายและเป้าหมายสำคัญของประเทศในการดึงดูดการลงทุน
บทวิเคราะห์: การดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลการนำเข้าสินค้าดังกล่าวของอินเดียจะมีส่วน สำคัญในการเข้าใจลักษณะการนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้ามายังอินเดียมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้จะ ช่วยเพิ่มศักยภาพของอินเดียในการดึงดูดนักลงทุน อันจะเป็นผลเสียสำหรับประเทศไทย หากยังไม่ มีการปรับปรุงอะไรเพิ่มเติม ขณะเดียวกันมาตรการนี้จะส่งผลดีต่อนักลงทุนชาวไทยที่สนใจประเทศอินเดีย
Source: THE ECONOMIC TIMES. 17 AUG, 2017
3. อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า: รายงาน Nomura
Growth, inflation to trend higher in next 6-12 months: Nomura
นิวเดลี: รายงาน Nomura ได้ให้ข้อมูลว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อคาดว่า จะมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้าและธนาคารแห่งประเทศอินเดียดูเหมือนจะไม่มี ท่าทีอะไรในการตอบสนองต่อปรากฏการณ์ดังกล่าวเท่าใดนัก ทั้งนี้ตามรายงานของศูนย์ให้บริการ ทางการเงินขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง MNC มองและให้คำแนะนำว่าการลดลงของความกังวลในประเด็นอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียนั้น จะนำไปสู่การระงับนโยบายการ ผ่อนคลายทางด้านการเงินที่ดำเนินอยู่ในเดือนนี้
Source: The Economic Times
สมาชิกโดยส่วนใหญ่ของคณะกรรมการนโยบาย ทางการเงินได้มีการลงมติสำหรับการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายในเดือนสิงหาคม 2560 เป็นผลมา จากแรงเหวี่ยงที่ลดลงของอัตราเงินเฟ้อและสัญญาณที่ ไม่ดีนักของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ ตามธนาคารแห่งประเทศอินเดียยังคงดำเนินนโยบาย ความเป็นกลางแบบยืดหยุ่นทางการเงิน (neutral policy stance) เพราะคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
อ้างอิงข้อมูลจาก Nomura เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมาข้อมูลอัตราเงินเฟ้อยืนยัน ว่าอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2560 และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก อันเป็นผลมา จากการปรับตัวที่เพิ่มสูงขึ้นของราคาผักในท้องตลาดของอินเดียซึ่งถือเป็นอาหารสำคัญของคน อินเดียยิ่งไปกว่านั้นการปรับใช้ภาษีสินค้าและบริการในเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมายังเป็นอีก หนึ่งตัวแสดงที่มีความสำคัญที่มีส่วนในการเพิ่มแรงเหวี่ยงของการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตรา เงินเฟ้อ
นอกจากนี้คณะกรรมการนโยบายทางการเงินยังมีความวิตกกังวลและให้ความสนใจอย่าง มากต่อการปรับประยุกต์ใช้นโยบายทางด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล รวมถึงการเพิ่มขึ้นของ นโยบายที่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการคลังอาทิ นโยบายการพักชำระหนี้เกษตรกร (farm loan waivers) ซึ่งถูกนำมาปรับประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ หลายคนคาดว่าเนื่องจากจะมี การเลือกตั้งในปี 2019 เมื่อผนวกกับสถานการณ์ราคาผักที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับใช้ภาษีสินค้า และบริการ จึงเป็นไปได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีกในไม่ช้านี้
ทั้งนี้ตัวเลขการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มสินค้าส่งค่อนข้างเป็นที่น่ากังวลเนื่องจากมี การปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคืออัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ ร้อยละ 0.90 แต่สำหรับในเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมามีอัตราเงินเฟ้อถึงร้อยละ 1.88 ทั้งนี้ผลสำคัญคือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโดยเฉพาะผัก ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อของสินค้า ปลีกก็มีสถานการณ์ในลักษณะเดียวกันคือในช่วงระยะเวลาหนึ่งเดือนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นถึง ร้อยละ 2.36 อันเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าประเภทน้ำตาลและขนมหวาน กระทะ ยาสูบ และของมึนเมา
ทั้งนี้รายงานฉบับนี้มองว่าจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเฟ้อ ผนวกกับแนวนโยบาย ทางการเงินที่เป้นกลางแบบยืดหยุ่นที่เกิดจาดความลำเอียงของคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน รายงานคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศอินเดียจะยังคงระงับไม่ดำเนินงานใดๆ อีกครั้งในการ ประชุมในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 1 รายงานยังสรุปว่าหากการดำเนินงานที่มี ความเกี่ยวข้องกับภาษีสินค้าและบริการเริ่มมีแนวโน้มที่ลดลง จะส่งผลให้ในอีก 6 ถึง 12 เดือน ข้างหน้าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของอินเดียจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน
บทวิเคราะห์: เห็นได้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอินเดียภายหลังปรับใช้ภาษีสินค้า และบริการยังไม่มีความมั่นคงเท่าที่ควร แต่รายงานยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของอินเดียจะมีความ เติบโตมากยิ่งขึ้น การลงทุนในประเทศอินเดียจึงยังคงมีความน่าสนใจ
Source: THE ECONOMIC TIMES. 17 AUG, 2017
4. รัฐบาลเตรียมออกมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าทองที่เพิ่มขึ้นจากเกาหลีใต้
Surge in Gold imports: Government notifies rules for safeguard probes against South Korea
นิวเดลี: รัฐบาลได้ออกกระบวนการเพื่อเริ่มการสอบสวนภายใต้มาตรการปกป้องการนำเข้า สินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measures) โดยมีเป้าหมายในการอุดช่องว่างการนำเข้าทองจาก เกาหลีใต้ ซึ่งอินเดียมีข้อตกลงการค้าเสรีร่วมด้วยตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2553 เนื่องจากมีการ นำเข้าที่สูงขึ้นมาก โดยการนำเข้าทองจากเกาหลีใต้ระหว่าง 1 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2560 ปี นี้ มีมูลค่าสูงถึง 338.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่างจากตัวเลขระหว่างปี 2016-17 ที่มีเพียง USD 70.46 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
Source: The Economic Times
กรมสรรพากรได้แจ้งเตือนถึงการบังคับ ใช้ India-Korea Comprehensive Economic Partnership Agreement (Bilateral Safeguard Measures) ของปี 2017 ที่ ครอบคลุมถึงการสอบสวนภายใต้มาตรการ ปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นเพื่ออุด ช่องว่างในการนำเข้าทองคำนี้ ซึ่งอินเดียให้ความสำคัญในการบังคับใช้ Safeguard Measures ที่จำเพาะเจาะจงกับแต่ละประเทศ คู่ค้าเสรี และในกรณีนี้คือการนำเข้าทองจากเกาหลีใต้ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้ผลิตทองในประเทศ และสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตลาดในประเทศ สืบเนื่องจากการยกเว้นภาษี ศุลกากรในข้อตกลงการค้าเสรี
สำหรับอากรตอบโต้จากการนำเข้าทอง (Countervailing Duty) ได้ถูกรวมอยู่ในภาษี สินค้าและบริการ (GST) ทำให้ภาษีนำเข้ารวมเป็น 12.5% เมื่อเทียบกับภาษีนำเข้าในปัจจุบันที่มี การเรียกเก็บ Integrated GST เพียง 3% เท่านั้น
สำหรับการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและ IGST จากการนำเข้าหลังมีการใช้ GST เพิ่มขึ้น เกือบถึง 3 แสนล้านรูปีในเดือนกรกฎาคม 2560 และทองที่นำเข้ามามีส่วนสำคัญในการเพิ่มขึ้น ของการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและ IGST
Vอนึ่ง อินเดียยังได้มีข้อตกลงการค้าเสรีกับภูมิภาคอื่นๆ อาทิ ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ รวมถึง ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วย
ข้อเสนอแนะ: จากข่าวจะเห็นได้ว่า ตลาดการนำเข้าทองในอินเดียมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด แต่การออกกฎสอบสวนการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น อาจนำมาซึ่งการเพิ่มอัตราภาษีที่ สูงขึ้นในอนาคต
Source: THE ECONOMIC TIMES. 17 AUG, 2017