ทางการอินเดียร่วมกับบริษัทเภสัชกรรมชั้นนำของอินเดียเตรียมจัดงานสัมมนาระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2555 โอกาสสำหรับอุตสาหกรรมเภสัชกรรมไทยที่จะได้พบกับนวัตรกรรม Biotechonology (เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ) การแลกเปลี่ยนข้อมูล และโอกาสทางธุรกิจ
งานดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 12 ที่เมืองบังคาลอร์ หลังจากในปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จโดยมีการเปิดเวทีสัมมนา 21 รายการอัดแน่นไปด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญจาก 112 ผู้เชี่ยวชาญและมีผู้เข้าร่วมงาน 764 คนจาก 22 ประเทศ
คาดว่าจะมีตัวแทนบริษัทยาข้ามชาติจากทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สเปน อิตาลี เกาหลีใต้ อเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์เข้าร่วม โดยนอกจากประเด็นการสัมมนาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องนวัตรกรรม เทคโนโลยี กฎระเบียบ นโยบาย ภายในงานยังได้เปิดโอกาสให้ 30 บริษัทนำเสนอข้อมูลบริษัทละ 13 นาที จากนั้นจะเปิดโอกาสให้พบปะเป็นรายบริษัท
ปัจจุบัน อินเดียมีบริษัทยาทั้งของตนเองและต่างชาติกว่า 20,000 แห่ง สนองความต้องการยาของประเทศได้ราว 70% ของความต้องการรวม โดยราว 250 แห่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ประเทศอินเดียส่งออกยาอายุรกรรมมากที่สุดในโลกมีมูลค่าราว 1.1 หมื่นล้านเหรียญ บริษัทยา 10 อันดับแรกของอินเดียมียอดขายรวมกันในปี 2553 ที่ 6.3 พันล้านเหรียญ
คาดกันว่าอุตสาหกรรมเภสัชกรรมของอินเดียมีมูลค่าราว 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราเติบโตอยู่ที่ 8%-9% ต่อปี โดยอุตสาหกรรมเภสัชกรรมของอินเดียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกในเชิงปริมาณ และเป็นอันดับที่ 14 ในเชิงมูลค่า
ตลาดเภสัชกรรมของอินเดียมีศักยภาพจะเติบโตไปที่ 5.5 หมื่นล้านเหรียญ หรืออาจไปได้ไกลกว่านั้นถึง 7 หมื่นล้านในปี 2563 จาก 1.26 หมื่นล้านเหรียญในปี 2009
ประชากรกลุ่มรายได้สูงที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทยาข้ามชาติซึ่งคาดว่าตลาดนี้จะมีมูลค่าถึง 8 พันล้านเหรียญภายในปี 2558 โดยตลาดยาภายในประเทศคาดจะมีมูลค่า 2 หมื่นล้านเหรียญ ในขณะที่บริษัทยายักษ์ใหญ่ของอินเดียก็ไม่ได้หยุดนิ่งที่จะคิดค้นยาชนิดใหม่ๆ โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา บริษัทยาของอินเดียได้เริ่มทำการทำลองยาชนิดใหม่ 12 ตัว ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความสนใจที่มีมากขึ้นในการค้นคว้าทดลองเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตนในอุตสาหกรรมนี้
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามได้ที่นี่
ปิยรัตน์ เศรษฐศิริไพบูลย์
20 กันยายน 2554