ความท้าทายของ Retailing Industry ในอินเดีย
หลังจากประเทศอินเดียได้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่จับตามองของภูมิภาคต่างๆ ประชากรชนชั้นกลางของประเทศได้ขยายตัวและมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าสนใจ นี่อาจรวมไปถึงประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งมีความร่ำรวยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อินเดียจึงแปลงโฉมกลายเป็นตลาดที่มีความดึงดูดต่อผู้ประกอบการและนักลงทุนให้เข้ามาเก็บเกี่ยวโอกาสและสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจของอินเดียภายในเพียงไม่กี่ปี
อุตสาหกรรมการค้าปลีกและค้าส่ง(Wholesale & Retail Business) ก็เช่นเดียวกัน ที่แม้ในช่วงแรกยังมีข้อจำกัดหลายประการมากกว่าในปัจจุบัน บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการทั้ง Wal-Mart ของอเมริกา Carrefour ของฝรั่งเศส Tesco ของอังกฤษ หรือแม้แต่ Metro ของเยอรมัน ได้เข้ามาสู่ตลาดนี้ในฐานะธุรกิจผู้ค้าส่งนี้ เพื่อรอการอนุญาตในการดำเนินกิจการค้าปลีกจากทางการอินดียเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ตั้งแต่มีการเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมค้าส่ง (Wholesale Business) ในปี 2549
ในเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลของอินเดียได้ประกาศให้บริษัทต่างชาติสามารถเพิ่มการถือหุ้นได้ถึง 51 % สำหรับธุรกิจ Multi-Brand Retail โดยมีการอนุญาตให้บริษัทต่างชาติสามารถถือหุ้นในธุรกิจ Single-Brand Retail ได้ 100% ก่อนหน้านี้ ได้เป็นประเด็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวางทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยถึงผลได้ผลเสียของการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว โดยฝ่ายต่อต้านมีข้อกังวลว่าการเปิดเสรีการค้าปลีกจะไปกระทบต่อพ่อค้ารายย่อย และการขายผลิตภัณฑ์ทางเกษตรของเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ซึ่งสวนทางกับแนวคิดของฝ่ายรัฐบาลและผู้สนับสนุนที่มองว่าเป็นการช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุน และเป็นการพัฒนาระบบ Supply Chain ภายในประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ ปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการเมืองและความไม่แน่นอนในการเปลี่ยนผ่านนโยบายของวงการค้าปลีกครั้งนี้ ยังคงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องจับตามองต่อไปในการเลือกตั้งทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นที่กำลังจะเกิดขึ้นว่านโยบายจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
|
กลุ่มองค์กร/บุคคล |
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดเสรีค้าปลีก |
เห็นด้วย |
|
|
ไม่เห็นด้วย |
|
|
อย่างไรก็ตาม ผลของการตัดสินใจของรัฐบาลดังกล่าว ได้สร้างโอกาสและความมั่นใจให้เกิดขึ้นแก่อุตสาหกรรมการค้าปลีกของอินเดีย ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกที่เป็นระบบ (Modern retail) มีเพียง 6% ของจำนวนห้างค้าปลีกทั้งหมด โดยบริษัท Booz&Company ได้การคาดการณ์ว่า ยอดการจับจ่ายใช้สอยในอุตสาหกรรม(Retail Spending)จะเกิน 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในอีก 5 ปี ข้างหน้า โดยมี 8 รัฐ ที่มียอดการบริโภค (Consumption) เป็น 50% ของทั้งประเทศ รวมถึง 2 เมืองใหญ่ คือนิวเดลีและมุมไบ ที่ได้อนุญาตให้มีการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสทางการตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก และมีพื้นที่ทางธุรกิจเพียงพอในการเริ่มดำเนินการธุรกิจค้าปลีกในประเทศอินเดีย
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเข้ามาลงทุนในตลาดค้าปลีกของอินเดีย นอกจากความท้าทายในการบริหารจัดการตามเงื่อนไขการลงทุนและจำนวนเงินที่รัฐบาลกำหนด เช่น การกำหนดให้ต้องลงทุนอย่างน้อย 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้องใช้อย่างน้อย 50% ของเงินลงทุนในการพัฒนา Backend infrastructure และ ต้องซื้อวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 30% จากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมภายในประเทศ แล้ว การหาคู่พันธมิตรท้องถิ่นในการร่วมธุรกิจที่เหมาะสม การการหาซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินขนาดใหญ่ เพื่อการพัฒนาเป็นศูนย์การค้าที่มีข้อจำกัดทั้งด้านกฎหมายและความพร้อมของสภาพตึก/พื้นที่ และการขาดความพร้อมในการบริหารจัดการและโครงสร้างพื้นฐานประเภท Back-end ของประเทศอินเดียเอง ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการ สโตร์ การจัดการคลังสินค้า การขนส่งและกระจายสินค้า บริการห้องเย็นและรถบรรทุกสินค้าเน่าเสียง่าย ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง โดยในประเด็นหลังนั้นเป็นอีกโอกาสหนึ่งของผู้ประกอบการไทยที่สนใจลงทุนในอุตสาหกรรมสนับสนุน(Supporting industry)เหล่านี้ ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรหรือสินค้าอุปโภคและบริโภคจากเมืองไทย เข้ามาสู่ศูนย์การค้าที่กำลังจะเติบโตขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ ก็เป็นอีกขุมทองทางธุรกิจที่มีความน่าสนใจ
ความท้าทายมักแฝงไปด้วยโอกาสที่เกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาสเช่นอินเดีย นักลงทุนและผู้ประกอบการชาวไทยควรใช้โอกาสอันนี้ รวมทั้งสิทธิประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย (ITFTA) และความตกลงเขตการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน-อินเดีย ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ก่อนที่ตลาดจะถูกจับจองจนเต็มเสียก่อน
ธนวัฒน์ ไทยแก้ว
รายงานจากกรุงนิวเดลี
14 พฤศจิกายน 2555
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
บทความก่อนหน้าที่เกี่ยวข้อง