ตลาดผลไม้ในประเทศอินเดีย 2014
ตลาดผลไม้ในประเทศอินเดีย 2014
1. ความสามารถในการผลิตผลไม้ของประเทศอินเดีย
ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่สามารถผลิตผลไม้ได้มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน โดยในปีงบประมาณ 2012-13 (เมษายน 2012 - มีนาคม 2013) ประเทศอินเดียสามารถผลิตผลไม้ได้ทั้งหมด 81,285,334 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 12.6% ของปริมาณผลไม้ที่สามารถผลิตได้ทั่วโลกด้วยพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 69,820 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ ประเทศอินเดียยังเป็นประเทศที่มีปริมาณความต้องการผลไม้จำนวนมากอีกด้วย โดยในปี 2013 ปริมาณความต้องการบริโภคผลไม้ในประเทศอินเดียมีสูงถึง 60 ล้านตันและมีการคาดการณ์ว่า ปริมาณความต้องการผลไม้ภายในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 80 ล้านตันในปี 2017
อย่างไรก็ตามพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศอินเดียยังต้องพึ่งพิงน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลักดังนั้นหากในปีใดมีปริมาณฝนน้อย ปริมาณผลไม้ที่ผลิตได้ก็จะลดลงตามไปด้วย
ปริมาณผลผลิตผลไม้เรียงตามประเทศ ปี 2013 และปริมาณความต้องการผลไม้ในสาธารณรัฐอินเดีย ปี 2013-2017
ประเทศ |
ปริมาณผลผลิต (ตัน) |
สัดส่วน |
ปี |
ปริมาณความต้องการผลไม้ (ตัน) |
|
1.จีน |
137,066,750 |
21.2% |
2013 |
60,175,500 |
|
2.อินเดีย |
81,285,334 |
12.6% |
2014 |
65,071,000 |
|
3.บราซิล |
38,368,678 |
5.9% |
2015 |
70,007,400 |
|
4.สหรัฐอเมริกา |
26,548,859 |
4.1% |
2016 |
75,148,000 |
|
5.อินโดนีเซีย |
17,744,411 |
2.7% |
2017 |
80,442,500 |
|
8.ตุรกี |
14,974,561 |
2.3% |
|||
9.สเปน |
13,996,447 |
2.2% |
|||
10.อิตาลี |
13,889,219 |
2.1% |
|||
อื่นๆ |
270,594,597 |
41.8% |
|||
รวม |
599,300,409 |
100.00% |
หากพิจารณาจากพื้นที่ที่เพาะปลูก รัฐที่สามารถผลิตผลไม้ได้มากที่สุดในปีงบประมาณ2012-13 คือ รัฐอานธรประเทศ โดยมีผลผลิตทั้งหมด 13.93 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.1 ของปริมาณผลไม้ที่ประเทศอินเดียสามารถผลิตได้ทั้งหมด อันดับที่สองคือ รัฐมหาราษฏระ โดยมีผลผลิตทั้งหมด 9.79 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 12 อันดับที่สามคือ รัฐคุช
ราต โดยมีผลผลิตทั้งหมด 8.41ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.4 อันดับที่สี่คือ รัฐทมิฬนาฑู โดยมีผลผลิตทั้งหมด 6.70ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.2 อันดับที่ห้าคือ รัฐกรณาฏกะ โดยมีผลผลิตทั้งหมด 6.62 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 และอันดับที่หกคือ รัฐมัธยประเทศ โดยมีผลผลิตทั้งหมด 5.45 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.7ส่วนที่เหลือคือรัฐอื่น ๆ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.49
ผลไม้ที่ประเทศอินเดียผลิตเป็นหลักคือ กล้วย มะม่วง และมะนาว โดยในปีงบประมาณ 2012-13 ประเทศอินเดียสามารถผลิตกล้วยได้ทั้งหมด 26.51 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 32.6 ของปริมาณผลไม้ที่ประเทศอินเดียสามารถผลิตได้ทั้งหมดทั้งนี้ ประเทศอินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตกล้วยรายใหญ่ที่สุดของโลกในขณะที่มะม่วงและมะนาวมีผลผลิตทั้งหมด 18 ล้านตันและ 10 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.1 และร้อยละ 12.4 ของปริมาณผลไม้ที่ประเทศอินเดียสามารถผลิตได้ทั้งหมด
ปริมาณผลผลิตผลไม้ของประเทศอินเดียในปี 2012-2013
ผลไม้ |
ปี 2012-13 |
|
พื้นที่ปลูก ‘000’ เฮกตาร์ |
ผลผลิต ‘000’ ตัน |
|
1. กล้วย |
776 |
26,509 |
2. มะม่วง |
2,500 |
18,002 |
3. มะนาว |
1,042 |
10,090 |
4. มะละกอ |
132 |
5,382 |
5. ฝรั่ง |
236 |
3,198 |
6. แอปเปิ้ล |
312 |
1,915 |
7. สัปปะรด |
105 |
1,571 |
8. ละมุด |
164 |
1,495 |
9. องุ่น |
118 |
2,483 |
10. ทับทิม |
113 |
745 |
11. ลิ้นจี่ |
83 |
580 |
อื่นๆ |
1,402 |
9,315 |
รวม |
6,982 |
81,285 |
2. การนำเข้าและส่งออกผลไม้ของประเทศอินเดีย
2.1 การส่งออกผลไม้ของประเทศอินเดีย
ผลไม้ที่ประเทศอินเดียส่งออกเป็นหลักคือ องุ่นและมะม่วง โดยในปีงบประมาณที่ผ่านมา(2013-14) ประเทศอินเดียส่งออกผลไม้เป็นปริมาณ 474,449.3 ตัน มีมูลค่าการส่งออกรวม 498.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่งออกองุ่นเป็นปริมาณ 192,616.91 ตัน คิดเป็นมูลค่า 279.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 40.6 ของปริมาณการส่งออกผลไม้ทั้งหมดและร้อยละ 56.06 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้ทั้งหมดรองลงมา คือ มะม่วง มีการส่งออกเป็นปริมาณ 41,279.97 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 50.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 8.7 ของปริมาณการส่งออกผลไม้ทั้งหมดและร้อยละ 10.14 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้ทั้งหมดของอินเดียสำหรับผลไม้อื่น ๆ มีการส่งออกเป็นปริมาณ 240,552.45 ตัน คิดเป็นมูลค่า 168.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 50.7 ของปริมาณการส่งออกผลไม้ทั้งหมดและร้อยละ 33.8 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้ทั้งหมด
ตลาดส่งออกที่สำคัญสำหรับการส่งออกองุ่นของประเทศอินเดียคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยในปีงบประมาณ 2013-14 ประเทศอินเดียส่งออกองุ่นไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด 46,136.91 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 89.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.95 ของปริมาณองุ่นที่ประเทศอินเดียส่งออกทั้งหมดและเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 31.9 ของมูลค่าการส่งออกองุ่นที่ประเทศอินเดียส่งออกทั้งหมด ส่วนประเทศไทยก็เป็นตลาดส่งออกองุ่นที่สำคัญของประเทศอินเดียเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าองุ่นจากประเทศอินเดียมากเป็นอันดับที่ 7 หากพิจารณาจากมูลค่าในปีงบประมาณ 2013-14 อีกทั้งการนำเข้าองุ่นจากประเทศอินเดียของประเทศไทยยังได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตด้วย
สำหรับการส่งออกมะม่วง ตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศอินเดียคือ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยในปีงบประมาณ 2013-14 ประเทศอินเดียได้ส่งออกมะม่วงไปยังประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทั้งหมด 23,046.65 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 30.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 55.83 ของปริมาณมะม่วงที่ประเทศอินเดียส่งออกทั้งหมด และนับเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 60.49 ของมูลค่าการส่งออกมะม่วงที่ประเทศอินเดียส่งออกทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา การนำเข้ามะม่วงจากประเทศอินเดียมีน้อยมากและยังมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตมะม่วงรายใหญ่ของโลกนั่นเอง
ตารางแสดงปริมาณและมูลค่าการส่งออกองุ่นของประเทศอินเดียไปยังประเทศต่างๆในปี 2011-2014 (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ประเทศ |
ปี 2011-12 |
ปี 2012-13 |
ปี 2013-14 |
|||
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า |
|
1. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
22,013.88 |
22.39 |
37,598.64 |
29.93 |
23,046.65 |
30.58 |
2. สหราชอาณาจักร |
2,532.42 |
3.42 |
3,304.48 |
5.92 |
3,381.08 |
8.06 |
3. ซาอุดิอาระเบีย |
2,388.63 |
2.44 |
1,665.43 |
2.21 |
1,721.91 |
2.15 |
4. คูเวต |
731.24 |
1.13 |
828.16 |
1.56 |
4,601.44 |
1.47 |
5. กาตาร์ |
816.1 |
0.69 |
1,522.89 |
1.63 |
770.08 |
1.15 |
6.สหรัฐอเมริกา |
353.18 |
0.46 |
242.2 |
1.05 |
242.42 |
1.00 |
7.สิงคโปร์ |
599.27 |
0.75 |
650.27 |
0.76 |
545.94 |
0.89 |
8.บาห์เรน |
623.69 |
0.6 |
497.49 |
0.48 |
634.54 |
0.72 |
9.บังคลาเทศ |
27,599.48 |
8.47 |
4,650.21 |
1.4 |
2,899.85 |
0.69 |
10.เนปาล |
3,925.74 |
1.4 |
2,237.62 |
1.11 |
1,106.44 |
0.57 |
56.ไทย |
0.04 |
0 |
0.1 |
0 |
0 |
0 |
อื่นๆ |
1,857.64 |
1.98 |
2,387.59 |
2.49 |
2,329.66 |
3.27 |
รวม |
63,441.27 |
43.73 |
55,584.98 |
48.54 |
41,280.01 |
50.55 |
2.2 การนำเข้าผลไม้ของประเทศอินเดีย
ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ประเทศอินเดียนำเข้าผลไม้ทั้งหมด 577,422.96 ตัน คิดเป็นมูลค่า538,885,877ดอลลาร์สหรัฐ โดยผลไม้ที่นำเข้ามากที่สุดคือ แอปเปิ้ล ซึ่งนำเข้าทั้งหมด 175,355.66 ตัน คิดเป็นมูลค่า 200,890,134ดอลลาร์สหรัฐ และนับเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 30.37 ของปริมาณผลไม้ที่ประเทศอินเดียนำเข้าทั้งหมดและคิดเป็นร้อยละ 37.28 ของมูลค่าการนำเข้าผลไม้ทั้งหมดของประเทศอินเดีย
ตารางแสดงมูลค่าและปริมาณการนำเข้าผลไม้ของประเทศอินเดียในปีงบประมาณ 2014
HSCode |
ประเภทผลไม้ |
ปริมาณ(ตัน) |
มูลค่า (ดอลลาร์สหรัฐ) |
8081000 |
แอปเปิ้ลสด |
175,355.66 |
200,890,134 |
8041030 |
อินทผลัมประเภทแข็ง (Chhoharaหรือ Kharek) |
130,679.98 |
96,679,050 |
8041020 |
อินทผลัมประเภทนิ่ม (Khayzurหรือ Wet Dates) |
185,233.95 |
86,244,758 |
8042090 |
มะเดื่อประเภทอื่นๆ |
8,971.18 |
62,513,973 |
8062010 |
ลูกเกด |
10,760.95 |
30,640,474 |
8051000 |
ส้ม (สด/แห้ง) |
34,590.05 |
18,930,001 |
8083000 |
ลูกแพร์สด |
14,571.90 |
12,964,907 |
8105000 |
กีวี่ (สด/แห้ง) |
6,159.67 |
10,422,483 |
8061000 |
องุ่นสด |
3,955.17 |
9,106,973 |
8109090 |
ผลไม้สดอื่นๆ |
1,985.61 |
3,101,737 |
8094000 |
ลูกพลัมประเภทสด |
1,172.96 |
2,102,136 |
8109020 |
มะขามสด |
793.55 |
1,532,454 |
8052000 |
ส้มแมนดาริน ส้มเขียวหวาน ส้มซัทซูมาส้มคลีเมนไทน์ |
825.28 |
743,480 |
8109010 |
ทับทิมประเภทสด |
636.23 |
615,554 |
8045090 |
มังคุด (สด/แห้ง) |
297.29 |
474,488 |
8092100 |
เชอร์รี่แบบเปรี้ยว |
55.57 |
441,619 |
8092900 |
เชอร์รี่ประเภทอื่นๆ |
138.34 |
332,605 |
8045010 |
ฝรั่ง (สด/แห้ง) |
441.60 |
322,234 |
8101000 |
สตรอว์เบอร์รี่ประเภทสด |
34.91 |
219,950 |
8071900 |
แตงประเภทอื่นๆ |
385.75 |
172,469 |
8109060 |
ลิ้นจี่ |
107.74 |
143,478 |
8093000 |
ลูกพีชประเภทสด |
39.15 |
75,151 |
8091000 |
แอพริคอตประเภทสด |
37.99 |
50,574 |
8054000 |
เกรพฟรุต (สด/แห้ง) |
63.85 |
45,694 |
8041090 |
อินทผลัมอื่นๆ |
7.54 |
25,773 |
8041010 |
อินทผลัม (สด/แห้ง) |
29.10 |
20,152 |
8045040 |
เนื้อมะม่วง |
33.00 |
19,844 |
8055000 |
เลมอนและมะนาว (สด/แห้ง) |
23.84 |
17,744 |
8106000 |
ทุเรียน (สด/แห้ง) |
14.40 |
12,287 |
8104000 |
แครนเบอร์รี่ บิลเบอร์รี่ และผลไม้ของไม้พุ่มอื่นๆประเภทสด |
4.07 |
9,098 |
8045020 |
มะม่วง (สด/แห้ง) |
7.52 |
3,918 |
8062090 |
องุ่นประเภทอื่นๆ |
1.50 |
3,541 |
8102000 |
ราสเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่และโลแก็นเบอร์รี่ประเภทสด |
2.50 |
3,430 |
8039090 |
กล้วยประเภทอื่นๆ |
4.20 |
1,758 |
8059000 |
ผลไม้ตระกูลส้ม (สด/แห้ง) |
0.08 |
1,184 |
8071100 |
แตงโมประเภทสด |
0.84 |
597 |
8043000 |
สับปะรด (สด/แห้ง) |
0.04 |
175 |
รวม |
577,422.96 |
538,885,877 |
ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ประเทศอินเดียนำเข้าแอปเปิ้ลจากประเทศจีนมากที่สุด โดยอินเดียนำเข้าแอปเปิ้ลทั้งหมด 88,014.98 ตัน ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 92,460,881 ดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือประเทศสหรัฐฯ โดยนำเข้าแอปเปิ้ลทั้งหมด 49,050.53 ตัน ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 64,862,819 ดอลลาร์สหรัฐ
ตารางแสดงปริมาณและมูลค่าการนำเข้าแอปเปิ้ลจากประเทศต่างๆของของประเทศอินเดีย (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี 2011-12 |
ปี 2012-13 |
ปี 2013-14 |
||||
ประเทศ |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า |
1.จีน |
73,648.22 |
71.79 |
78,369.54 |
74.66 |
88,014.98 |
92.46 |
2.สหรัฐอเมริกา |
63,651.31 |
70.05 |
70,129.15 |
82.83 |
49,050.53 |
64.86 |
3.นิวซีแลนด์ |
10,425.28 |
11.61 |
18,498.45 |
21.30 |
14,825.38 |
18.88 |
4.ชิลี |
21,331.20 |
19.98 |
22,211.99 |
23.36 |
15,999.94 |
17.46 |
5.อิหร่าน |
189.08 |
0.18 |
6,517.70 |
5.48 |
2,973.07 |
2.72 |
6.อัฟกานิสถาน |
2.00 |
0 |
2,895.57 |
2.63 |
1,557.11 |
1.24 |
7.อิตาลี |
2,137.41 |
2.50 |
1,028.89 |
1.25 |
876.80 |
1.04 |
8.บราซิล |
47.44 |
0.05 |
22.12 |
0.02 |
542.02 |
0.59 |
9.ฝรั่งเศส |
1774.02 |
1.84 |
146.58 |
0.17 |
482.37 |
0.52 |
10.แอฟริกาใต้ |
64.51 |
0.07 |
184.88 |
0.21 |
426.89 |
0.52 |
อื่นๆ |
14,801.11 |
15.2 |
2273.72 |
2 |
606.57 |
0.61 |
รวม |
188,071.58 |
193.27 |
202,278.59 |
213.91 |
175,355.66 |
200.90 |
ในปี 2013 ที่ผ่านมา (ปีปฏิทิน) ประเทศอินเดียนำเข้าผลไม้จากประเทศไทยเป็นมูลค่า 3,187,198.99 ดอลลาร์สหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11 ทั้งนี้ ผลไม้ที่ประเทศอินเดียนำเข้าสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ผลไม้สดและผลไม้แห้ง โดยผลไม้สดมีมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 2,586,585.97 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.15 ในขณะที่ผลไม้แห้งมีมูลค่าการนำเข้าเพียง 600,613.02 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.79 เนื่องจากชาวอินเดียไม่คุ้นเคยกับการรับประทานผลไม้แห้ง อีกทั้งยังมีทัศนคติและความเชื่อว่าผลไม้แห้งหรือผลไม้แปรรูป ผลิตมาจากผลไม้สดที่ไม่มีคุณภาพ
ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าผลไม้จากประเทศไทยของประเทศอินเดีย (แบ่งตามประเภทของผลไม้)
ประเภทผลไม้ |
2554 |
2555 |
2556 |
2556 |
2557 |
|
ผลไม้สด |
1,843,641.53 |
2,265,994.68 |
2,586,585.97 |
888,486.97 |
1,289,661.65 |
|
ผลไม้แห้ง |
617,255.33 |
605,367.01 |
600,613.02 |
235,325.83 |
157,033.77 |
|
รวม |
2,460,896.86 |
2,871,361.70 |
3,187,198.99 |
1,123,812.80 |
1,446,695.41 |
ตารางแสดงอัตราการเติบโตของมูลค่าการนำเข้าผลไม้จากประเทศไทยของประเทศอินเดีย (แบ่งตามประเภทของผลไม้)
ประเภทผลไม้ |
2554 |
2555 |
2556 |
2556 |
2557 |
ผลไม้สด |
58.97% |
22.91% |
14.15% |
-3.39% |
45.15% |
ผลไม้แห้ง |
4.87% |
-1.93% |
-0.79% |
-9.59% |
-33.27% |
รวม |
58.97% |
16.68% |
11.00% |
-3.39% |
28.73% |
หากพิจารณาจากข้อมูลของไทยพบว่า ผลไม้สดที่ประเทศอินเดียนำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุดคือ ลำไย โดยในปีที่ผ่านมา (ปีปฏิทิน) ประเทศอินเดียนำเข้าลำไยเป็นมูลค่ารวม 320,520.08 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 48.72 แต่หากพิจารณาจากข้อมูลในปีปัจจุบันจะพบว่า ในเดือนมกราคม – พฤษภาคมของปีนี้ ประเทศอินเดียนำเข้าลำไยจากประเทศไทยเป็นมูลค่า 246,603.25 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนถึงร้อยละ 76.35 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อมูลของรัฐบาลอินเดีย ผลไม้ที่ประเทศอินเดียนำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุดคือ มะขามหวาน โดยในปีงบประมาณ 2013-2014 (เมษายน 2013 – มีนาคม 2014) ประเทศอินเดียนำเข้ามะขามหวานจากประเทศไทยเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,532,454ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 33.67 ทั้งนี้ ข้อมูลจากแหล่งทั้งสองไม่ตรงกัน เนื่องจากข้อมูลจากรัฐบาลไทยใช้ระบบรหัสสินค้าต่างจากของรัฐบาลอินเดียซึ่งทำให้ผลไม้บางชนิดไม่มีอยู่ในระบบ โดยระบบของรัฐบาลไทยไม่ได้กำหนดรหัสให้กับมะขามหวาน ส่วนระบบของรัฐบาลอินเดียไม่ได้กำหนดรหัสให้กับลำไย จึงทำให้มะขามหวานถูกกำหนดให้อยู่ในรหัสผลไม้อื่น ๆในระบบของรัฐบาลไทยและลำไยถูกกำหนดให้อยู่ในรหัสผลไม้อื่น ๆในระบบของรัฐบาลอินเดีย
ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทยของประเทศอินเดีย (แบ่งตามชนิดของผลไม้)
ชนิดของผลไม้ |
2554 |
2555 |
2556 |
2556 |
2557 |
|
ลำไย |
220,744.63 |
625,024.98 |
320,520.08 |
139,838.38 |
246,603.25 |
|
เงาะ |
1,898.92 |
5,727.34 |
37,338.03 |
17,091.95 |
12,869.97 |
|
ส้ม |
84,398.71 |
73,595.42 |
72,679.86 |
30,047.69 |
2,330.21 |
|
มังคุด |
4,028.33 |
20,817.42 |
15,329.32 |
4,542.69 |
3,709.65 |
|
ผลไม้สดอื่น ๆ |
1,532,570.94 |
1,540,829.51 |
2,140,718.67 |
696,966.27 |
1,024,148.56 |
|
รวม |
1,843,641.53 |
2,265,994.68 |
2,586,585.97 |
888,486.97 |
1,289,661.65 |
ตารางแสดงอัตราการเติบโตของมูลค่าการนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทยของประเทศอินเดีย (แบ่งตามชนิดของผลไม้)
ผลไม้ |
2554 |
2555 |
2556 |
2556 |
2557 |
ลำไย |
163.53% |
183.14% |
-48.72% |
-43.60% |
76.35% |
เงาะ |
-64.87% |
201.61% |
551.93% |
2,178.99% |
-24.70% |
ส้ม |
18.15% |
-12.80% |
-1.24% |
-14.46% |
-92.24% |
มังคุด |
-55.43% |
416.77% |
-26.36% |
166.55% |
-18.34% |
ผลไม้สดอื่นๆ |
54.73% |
-1.04% |
39.79% |
12.17% |
47.27% |
ผลไม้แห้งที่ประเทศอินเดียนำเข้าจากประเทศไทยคือ ฝรั่ง มะละกอ มะม่วง สับปะรด และกีวี อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียส่วนใหญ่ยังคงนิยมบริโภคผลไม้สดมากกว่าผลไม้แห้ง ดังนั้น โอกาสในการส่งออกผลไม้แห้งมายังประเทศอินเดียอาจจะยังมีไม่มากนัก
3. ห่วงโซ่อุปทานของผลไม้ในประเทศอินเดีย
ปัญหาหลักในการผลิตผลไม้ของประเทศอินเดียคือ เกษตรกรท้องถิ่นขาดความรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเกษตร ทำให้ผลไม้ที่เกษตรกรชาวอินเดียผลิตจะเกิดความเสียหายขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานประมาณร้อยละ 30-40 ทั้งยังมีการเก็บเกี่ยวผลไม้ก่อนกำหนดเพื่อนำไปขายให้ได้ราคาสูงในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสี รสชาติ และขนาดของผลไม้ทั้งยังทำให้ราคาผลไม้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย
วิธีการเก็บเกี่ยวผลไม้ที่เกษตรกรท้องถิ่นในประเทศอินเดียใช้เป็นส่วนใหญ่คือ การเก็บด้วยมือเปล่า ปีนต้นไม้ขึ้นไปเก็บ หรือเก็บเกี่ยวด้วยไม้ยาวเก็บผลไม้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมากระหว่างการเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วก็จะนำผลไม้ไปวางไว้บนพื้นดินเพื่อคัดขนาดโดยไม่มีร่มเงา ไม่มีระบบหล่อเย็น และไม่มีระบบรมควันเพื่อยืดอายุผลไม้สดแต่อย่างใด
หลังจากคัดขนาดเสร็จแล้วก็จะนำไปบรรจุเพื่อขนส่งต่อไป โดยจะมีการบรรจุผลไม้ลงในถุงกระสอบ ถุงผ้า ตะกร้าไม้ไผ่ หรือลังพลาสติก ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ (กล้วย สับปะรดและขนุนจะไม่มีการบรรจุใด ๆ ทั้งสิ้น) เมื่อบรรจุเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะขนส่งผลไม้โดยรถสามล้อหรือรถบรรทุก โดยระหว่างการขนส่งจะไม่มีการควบคุมอุณหภูมิหรือความชื้นใด ๆ เช่นกัน
การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตเป็นจุดเริ่มต้นห่วงโซ่อุปทานของผลไม้ในประเทศอินเดีย โดยผู้ผลิตจะขายผลไม้ให้กับพ่อค้าคนกลางท้องถิ่น ต่อมา พ่อค้าคนกลางท้องถิ่นก็จะนำผลไม้ไปขายต่อให้กับตัวแทนนายหน้า (ตัวแทนนายหน้าคือ พ่อค้าคนกลางที่รวบรวมสินค้าไปส่งให้กับผู้ซื้อคนต่อไปโดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้า) ซึ่งมีหน้าที่จัดหาสินค้าให้กับร้านค้าส่ง จากนั้นร้านค้าส่งก็จะกระจายสินค้าต่อไปยังร้านค้าปลีกและร้านค้าปลีกก็จะจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภคอย่างไรก็ตาม ห่วงโซ่อุปทานที่มีตัวกลางเป็นจำนวนมากของประเทศอินเดียทำให้การขนส่งต้องใช้เวลามากทั้งยังทำให้ราคาสินผลไม้เพิ่มสูงขึ้น (ผู้ผลิตจะได้รับค่าตอบแทนเพียงร้อยละ 30 ของราคาผลไม้ที่ขายให้กับผู้บริโภค) และยังทำให้ผลไม้เกิดความเสียหายมากกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ห่วงโซ่อุปทานของกล้วยในประเทศอินเดียจะมีกล้วยเสียถึงร้อยละ 30 และราคาผลไม้จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 240
4. กฎระเบียบว่าด้วยการส่งออกผลไม้สดไปยังประเทศอินเดีย
4.1 ความตกลงเขตการค้าเสรี(Free Trade Agreement: FTA)
การค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศอินเดียมีความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรี (FTA) ทั้งหมดสองฉบับคือ 1. ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย (ITFTA) และ 2.ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA)
ประเทศไทยและประเทศอินเดียได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย(ITFTA) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 และได้มีการตกลงให้เร่งลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest Scheme: EHS) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549 จำนวน 83 รายการ ซึ่งรวมถึงผลไม้สดจำนวน 8 ชนิดได้แก่ มังคุด มะม่วง องุ่น แอปเปิ้ล ทุเรียน เงาะ ลำไย และทับทิม
ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย) กับประเทศอินเดียเพื่อยกเลิกภาษีศุลกากรของสินค้าโดยรวม (ประมาณร้อยละ 80 ของรายการสินค้าภายในปี พ.ศ.2559) ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกใหม่ในอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามจะได้รับการยกเลิกภาษีภายในปี 2564 ส่วนฟิลิปปินส์จะได้รับการยกเลิกภาษีภายในปี พ.ศ.2562 สำหรับผลไม้สดที่อยู่ภายใต้ความตกลงนี้มีมากกว่า 20 ชนิด เช่น อินทผาลัม ลูกแพร ลูกพีช แคนเบอร์รี่ น้อยหน่า ทุเรียน ทับทิม มะขาม ละมุด ลิ้นจี่ ฯลฯ ซึ่งรายการผลไม้ดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าปกติ (Normal Track) ที่จะลดอัตราภาษีลงให้เหลือศูนย์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2556
หากผู้ส่งออกประสงค์จะขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีทั้งสองฉบับ ผู้ส่งออกต้องขอรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) จากกรมค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสินค้าจะต้องมีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained)
4.2 อัตราภาษี
สำหรับรายการผลไม้สดที่ไม่ได้รวมอยู่ในความตกลงเขตการค้าเสรีสองฉบับข้างต้นจะต้องเสียภาษีอากรตามปกติ ดังตารางต่อไปนี้
HS Code |
ชนิดผลไม้ |
อัตราภาษี |
|
0803.00 |
กล้วย |
ภาษีศุลกากรขาเข้า(Basic Duty) ค่าธรรมเนียมการศึกษา (Education Cess) รวม |
30% 3% 31.21% |
0804.30 0804.50 |
สัปปะรด ฝรั่ง |
ภาษีศุลกากรขาเข้า(Basic Duty) ค่าธรรมเนียมการศึกษา (Education Cess) ภาษีพิเศษอื่นๆ รวม |
30% 3% 4% 36.5% |
0805.10 0805.50 |
ส้ม เลมอน |
ภาษีศุลกากรขาเข้า(Basic Duty) ค่าธรรมเนียมการศึกษา (Education Cess) ภาษีพิเศษอื่นๆ รวม |
30% 3% 4% 36.5% |
0807.11 0807.20 |
แตงโม มะละกอ |
ภาษีศุลกากรขาเข้า(Basic Duty) ค่าธรรมเนียมการศึกษา (Education Cess) รวม |
30% 3% 31.21% |
0809.20 |
เชอร์รี่ |
ภาษีศุลกากรขาเข้า(Basic Duty) ค่าธรรมเนียมการศึกษา (Education Cess) รวม |
30% 3% 31.21% |
หมายเหตุ: 1. เฉพาะที่เมืองมุมไบ อาจมีการจัดเก็บภาษีข้ามรัฐ (Octroi Duty) โดยคิดจากสินค้าที่นำเข้าทั้งเพื่อบริโภคหรือใช้ในการพาณิชย์จากรัฐอื่น
2. ผู้นำเข้าเป็นผู้รับภาระจ่ายภาษีอากรทั้งหมด ผู้ส่งออกจากประเทศไทยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าภาษีอากรใด ๆ
4.3 ขั้นตอนการขออนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศรัฐอินเดีย
เนื่องจากประเทศอินเดียมีการใช้กฎหมาย Plant Quarantine Order ทำให้การนำเข้าผลไม้ทุกชนิดต้องได้รับอนุญาตจาก Department of Agriculture and Cooperation (DAC) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตร นอกจากนี้ ผลไม้บางชนิดอาจต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Analysis: PRA) โดยผู้ส่งออกจะต้องส่งตัวอย่างสินค้าให้ DAC ตรวจสอบ เมื่อ DAC อนุญาตแล้ว DAC จะออกหนังสืออนุญาตส่งไปยังด่านที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรต่อไป
5. พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลไม้สด
ปริมาณความต้องการบริโภคผลไม้สดภายในประเทศอินเดียมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีกมาก เนื่องจากชาวอินเดียโดยเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองเริ่มมีรายได้สูงขึ้น ทั้งยังหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศอินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตผลไม้รายใหญ่ของโลกทำให้ผลไม้ที่ผลิตภายในประเทศมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น ผลไม้จากต่างประเทศจึงเข้ามาแข่งขันในตลาดอินเดียได้ยาก เนื่องจากจะต้องเผชิญกับต้นทุนอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ ค่าขนส่ง ภาษีอากร และต้นทุนอื่น ๆ แต่หากเป็นผลไม้ที่มีความพิเศษ (Exotic) ซึ่งเน้นไปที่ความแปลกใหม่ในตลาด เช่น เงาะ ลำไย มังคุด และมะขามหวาน ก็นับว่ามีโอกาสมากในตลาดอินเดีย เนื่องจากผู้บริโภคที่ต้องการผลไม้ประเภทนี้เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงและไม่ได้พิจารณาปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก
ตารางแสดงราคาผลไม้เฉลี่ยที่ขายในประเทศอินเดีย
ชนิดผลไม้ |
ราคาขายเฉลี่ย (รูปี/กิโลกรัม) |
|
เพาะปลูกภายใน สาธารณรัฐอินเดีย |
แอปเปิ้ล |
145 |
มะละกอ |
45 |
|
มะม่วง |
40 |
|
กล้วย |
19 |
|
นำเข้าจากประเทศไทย |
เงาะ |
752 |
มังคุด |
750 |
|
ลำไย |
680 |
ในภาพรวม ผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวอินเดียนิยมรับประทานได้แก่ กล้วย มะม่วง แอปเปิ้ล มะละกอ องุ่น ฯลฯ โดยจะจำหน่ายในรูปแบบค้าปลีกเป็นหลัก(ร้อยละ 84.8) ส่วนการขายเพื่อเสิร์ฟในร้านอาหารมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ร้อยละ 15.2) สำหรับลักษณะการขายปลีก ชาวอินเดียส่วนใหญ่จะจำหน่ายผลไม้ผ่านทางช่องทางการขายแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) โดยลักษณะของร้านจะเป็นร้านขนาดเล็กตั้งอยู่ตามเขตชุมชน ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวอินเดียมีทัศนคติว่าผลไม้สดที่จำหน่ายในร้านค้าปลีกขนาดเล็กมีความสดมากกว่าผลไม้ที่จำหน่ายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ แต่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่จะมีผลไม้ให้เลือกซื้อมากกว่าและยังสะอาดกว่าอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคชาวอินเดียไม่รับรู้ถึงความแตกต่างทางด้านราคาของผลไม้สดระหว่างช่องทางทั้งสองแบบ
ผู้บริโภคชาวอินเดียจะซื้อผลไม้ที่มีทั้งปี (All Season Fruit) และผลไม้ตามฤดูกาล (Seasonal Fruit) เฉลี่ยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ส่วนผลไม้ที่มีความพิเศษ (Exotic Fruit) จะซื้อทุก 2 สัปดาห์หรือ 1 เดือน ทั้งนี้ การซื้อส่วนใหญ่มักจะเป็นการไปเลือกซื้อเอง ณ จุดขายโดยมองที่ลักษณะภายนอกและตรวจสอบด้วยการสัมผัส ส่วนการซื้อผ่านโทรศัพท์หรือบริการส่งถึงบ้านยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้ ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อผลไม้ที่มีทั้งปีคือ บุคคลที่รับหน้าที่ไปซื้อผลไม้ ส่วนผลไม้ตามฤดูกาลและผลไม้ที่มีความพิเศษ ภรรยาจะเป็นผู้ตัดสินใจซื้อเป็นหลัก โดยจะต้องรู้สึกได้ถึงความคุ้มค่าและความแปลกใหม่
ความนิยมในการบริโภคผลไม้สดทำให้ผลไม้แปรรูปยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศอินเดียมากนัก โดยผลผลิตที่ใช้ในการแปรรูปมีสัดส่วนเพียง 2% ของปริมาณผลผลิตทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ถูกแปรรูปเป็นผลไม้แห้งส่วนผลไม้ออร์แกนิก(Organic) ก็ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก โดยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.5 ของปริมาณผลไม้ที่จำหน่ายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ตลาดผลไม้ออร์แกนิกมีแนวโน้มว่าจะเติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคชาวอินเดียเริ่มห่วงใยสุขภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศณเมืองมุมไบ
นายกิตติพร โตเจริญโชค
นางสาวปนิดา มาสุภาพ
นักศึกษาฝึกงาน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์