รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 4)
อันดับ 4 บังคาลอร์
GDP = 2.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
เมื่อ 10 ปีก่อนบังคาลอร์เป็นสวรรค์ของผู้เกษียณอายุเนื่องจากยังมีความเป็นชนบทสูงและค่าครองชีพต่ำ เงินบำนาญสามารถเลี้ยงชีพไปได้ตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันบังคาลอร์เป็นเมืองเศรษฐีใหม่และเศรษกิจขยายตัว 10 เท่าจากเดิม มีเศรษฐีใหม่มากมายไม่แพ้มุมไบ เดลี และเจนไน และที่สำคัญบังคาลอร์มีจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เกิน 1 ล้านรูปีมากที่สุดในอินเดีย ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
ข้อมูลทั่วไปของบังคาลอร์ |
|
GDP |
2.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (2009) |
GDP/capita |
2,592 เหรียญสหรัฐ (2009) |
GDP growth |
14% (2009) |
ประชากร |
6.6 ล้านคน (2009) |
พื้นที่ |
709.5 ตรกม. |
ที่ตั้ง |
อยู่ในรัฐกรณาฏกะ ภาคใต้ของอินเดีย |
อุตสาหกรรมสำคัญ |
IT, BPO และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ IT อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเครื่องบิน, ยานยนต์ (โตโยต้า), เหล็ก, ซีเมนต์, ไบโอเทคโนโลยี, อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, เครื่องหนัง, ผ้าไหม, น้ำตาล, ยา, และแปรรูปอาหาร |
สินค้าเกตรที่สำคัญ |
ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว เมล็ดพืชน้ำมัน กาแฟ มะม่วงหิมพานต์ มะพร้าว หมากกระวาน พริก ฝ้าย อ้อย ยาสูบ |
ความหนาแน่นของประชากร |
8,231 คน/km2 |
ภาษาราชการ |
Kannada, Hindi, English, Tamil, Telugu, Malayalam |
ความสูงของพื้นดิน |
920 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (3,018 ft) |
การค้ากับไทย |
ส่วนใหญ่สินค้าไทยขึ้นที่ท่าเรือมุมไบ นอกนั้นนำเข้าผ่านท่าเรือเจนไน |
สินค้าที่มีศักยภาพ |
วัสดุก่อสร้าง สินค้าอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ ทองรูปพรรณ ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลง ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งปรุงแต่งรสอาหาร เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษ ของเล่น พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียม |
บังคาลอร์ (ชื่อใหม่คือ Bengaluru แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก) เป็นเมืองหลวงของรัฐกรณาฏกะ มีประชากร 6.6 ล้านคน ส่วนใหญ่อากาศจะเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากพื้นดินสูงจากระดับน้ำทะเลเกือบ 1 กิโลเมตร จึงเป็นที่นิยมของบริษัทต่างชาติเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนี้กว่า 2,000 แห่ง เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย อุตสาหกรรมหลักของบังคาลอร์คือ IT และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น BPO เป็นเมือง IT อันดับ 1 ของอินเดีย จึงถูกขนานนามว่า Silicon Valley of India การจ้างงานส่วนใหญ่ในบังคาลอร์จึงเป็นบริษัทซอฟแวร์ข้ามชาติของอินเดียเอง และของต่างชาติ ธรุกิจ IT จึงส่งผลให้เกิดการเติบโตของธุรกิจหลายด้าน เช่น การก่อสร้าง โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และการท่องเที่ยว บังคาลอร์มีนิคมธุรกิจซอฟแวร์อยู่ 3 แห่ง คือ Software Technology Parks of India (STPI); International Tech Park, Bangalore (ITPB); และ Electronics City
รัฐกรณาฏกะ(Karnataka) ซึ่งเป็นรัฐที่บังคาลอร์ตั้งอยู่ เป็นรัฐที่โครงการก่อสร้างใหญ่ๆ มากมายที่รอนักลงทุนไทยเข้าไปจับจองประมูลรับงานกัน
กรณาฏกะ– เป็นรัฐที่มีการลงทุนจากต่างประเทศสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย ในปัจจุบันรัฐบาลกรณาฏกะได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกว่า 1.1 แสนล้านรูปีต่อปี (ประมาณ 4.5% ของ GDPของรัฐ) และวางแผนจะลงทุนราว 2.1 แสนล้านรูปีต่อปี(ประมาณ 9% ของ GDP) ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า
- จุดแข็งของกรณาฏกะ
*เป็น 1 ใน 5 รัฐอุตสาหกรรมชั้นนำของอินเดีย (มหาราฎระ นิวเดลี ทมิฬนาฑู กรณาฏกะ และอานธรประเทศ)
*เป็นรัฐที่มีโปรเจ็คร่วมรัฐ-เอกชน (Public private partnership projects -PPP) มากเป็นอันดับ 1 ของอินเดียมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านรูปี
*มีโปรเจ็คร่วมรัฐ-เอกชนมากถึง 87 โครงการ
*มีการรวมศูนย์ให้ IDD (Infrastructure Development Department) เป็นผู้ดูแลโครงการ PPP ทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและการประสานงาน
- เว็บไซต์ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมูลงาน มีดังนี้
1) รัฐบาลกรณาฏกะ -http://www.karunadu.gov.in/Pages/tender-notification.aspx
2) IDD (Infrastructure Development Department)
Room No. 28, Ground Floor, Vikasa Soudha
Bangalore-560 001
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
3) PPP (Public Private Partnership Cell)
Infrastructure Development Department
Room No. 08, Ground Floor, Vikasa Soudha,
Bangalore 560 001
Tel: 001-9180-22034070
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
- อภิมหาโปรเจ็ค-ที่เปิดประมูล โดยต่างชาติสามารถเข้าร่วมประมูลได้ มี 29 โครงการ ดังนี้
1) รถไฟฟ้า MRTs- ระยะทาง 693 กิโลเมตร
2) รถไฟฟ้า airport link (High Speed Rail Link)
3) เครือข่ายถนน – Road Network- ระยะทางรวม 10,000 กิโลเมตร
4) ถนนเชื่อมเมือง -ดูรายละเอียดได้ที่ www.eproc.karnataka.gov.in
- ถนนเชื่อมเมือง Bellary-airport ถนน 4 เลน
- ถนนเชื่อมจาก สนามบิน –พรมแดนรัฐ AP – ถนน 2 เลน
5) นิคมอุตสาหกรรม Devanahalli Business Park ข้างสนามบินนานาชาติบังกะลอร์
6) ท่าเรือ 2 แห่ง – Two Greenfield Sea Ports เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเหล็กและรถยนต์ ดูรายละเอียดได้ที่ www.ksiidc.com
- ที่เมือง Tadadi, Uttara Kannada
- ที่เมือง Haldipur
7) Logistic Park – เพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่ง โกดัง และโลจิกติกส์ทุกด้าน
8) Monorail – 2 โครงการในเมืองบังกะลอร์ ระยะทาง 31 กิโลเมตร และ 15 กิโลเมตร
9) VADA – โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการอุตสาหกรรมจำนวน 3 เฟส ที่เมือง Bellary
10) ศูนย์ขนถ่ายสินค้า Intermodal Terminal HUBs ( 6 แห่งในบังกะลอร์ + 1 แห่งที่ Mangalore)
11) ท่อก๊าซยาว 1,389 กิโลเมตร
12) สนามบิน – 11 แห่ง จำนวนลานบินรวม 13 ลาน
13) รถไฟใต้ดินในบังกะลอร์เฟส 2 (Metro Phase II)
โครงการด้านการท่องเที่ยว
14) โรงแรม
15) รีสอร์ต
16) สปา
17) สวนสนุก
18) หอประชุมและศูนย์แสดงสินค้า
19) สนามกอล์ฟและรีสอร์ต
20) ภัตาคาร 5 ดาว
21) หมู่บ้านรักษ์ท้องถิ่น (Heritage villages)
22) สนามบินส่วนตัวหลายแห่ง (Private airport)
23) พิพิทธภัณฑ์หลายแห่ง (Museum complexes)
24) การท่องเที่ยวผจญภัยชมสัตว์ป่า (wildlife ventures)
25) การล่องเรือสำราญ (cruises)
26) การท่องเที่ยวโดย ฮ (Helicopter Tours)
27) กีฬาผจญภัย (Adventure Sports)
28) Caravan Tours
29) ฯลฯ
ข้อมูลทั่วไปรัฐกรณาฏกะ
|
๏ กรณาฏกะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐอินเดีย สถาปนารัฐเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2499 ซึ่งแต่เดิมรู้จักในชื่อรัฐไมซอร์ (Mysore) และได้เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกรณาฎกะ ในปี 2516 ๏ รัฐกรณากะตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างตะวันตกและตะวันออกของคาบสมุทรทางภาคใต้ของอินเดีย ด้านตะวันตกติดทะเลอาหรับ ทางเหนือติดกับรัฐกัวและรัฐมหาราษฎระ, ด้านตะวันออกติดรัฐอานธรประเทศ รัฐทมิฬนาฑู และรัฐเกรละ |
เมืองหลวง |
เบงกาลูรู (Bengaluru) เปลี่ยนชื่อจาก บังคาลอร์ (Bangalore) |
เมืองสำคัญ |
ไมซอร์ (Mysore) |
ขนาดพื้นที่ |
191,791 ตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของอินเดีย |
ประชากร |
52,850,562 คน (ปี 2001) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.14 ของประชากรอินเดีย |
เมืองหลวง |
ความหนาแน่นของประชากร: 275 คนต่อตารางกิโลเมตร |
ภาษาประจำรัฐ |
กันนาดา, อูรดู, อังกฤษ |
ภูมิประเทศและ ภูมิอากาศ
|
๏ ภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 3 เขต ได้แก่ ชายฝั่ง เขตภูเขา และที่ราบ ๏ ภูมิอากาศมีความหลากหลาย ตั้งแต่ ร้อน ฝนตกชุก และแห้งแล้ง ๏ อากาศร้อนที่สุดในช่วงระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม อุณหภูมิประมาณ40 °C และในช่วงเดือนตุลาคม – มีนาคม เป็นช่วงอากาศเย็นสบาย |
Mr. V Madhu, principal secretary, infrastructure development department, government of Karnataka |
|
ดัชนีเศรษฐกิจ |
GDP-4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ GDP growth (2552) 7% GDP growth (2553-estimated)- 9% รายได้เฉลี่ยต่อหัว : 550 ดอลลาร์สหรัฐ |
อุตสาหกรรม สำคัญ |
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเครื่องบิน, ยานยนต์, เหล็ก, ซีเมนต์, IT, ไบโอเทคโนโลยี, อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, เครื่องหนัง, น้ำตาล, ยา, และแปรรูปอาหาร |
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
ทองคำ, เงิน, แร่เหล็ก, แมงกานีส, โครไมท์, หินปูน, อะลูมิเนียม, ทองแดง, และดินเหนียวสำหรับทำเครื่องเคลือบ |
ศักยภาพทาง เศรษฐกิจ
|
๏ มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก ได้มีการปรับปรุงนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจภายในรัฐ ๏ มีบรรยากาศการลงทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน ขั้นตอนการติดต่อกับภาครัฐเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว มีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ รองรับ รวมถึงระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ๏ มีแรงงานมีฝีมือและทักษะจำนวนมาก ประชากรมีการศึกษาดี (อัตราการรู้หนังสือ 66.64%) ๏ มีสถาบันการศึกษา ทั้งระดับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และอาชีวศึกษา จำนวนมาก ๏ เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาองค์ความรู้ เช่น เมืองบังคาลอร์ |
ดร.ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไน
16 สิงหาคม 2554
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 1)
รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 2)
รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 3)
รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 5)
รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 6)
รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 7)
รู้จัก 10 เมืองสุดฮอตในประเทศอินเดีย (ตอน 8)