อุตสาหกรรมยานยนต์อินเดียที่บูมสุดขีดด้วยยอดการผลิตปีละ 15.5 ล้านคัน มากเป็นอันดับสองรองจากจีน กำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนยานยนต์อย่างรุนแรง ส่อแววนำเข้าจากไทยมากขึ้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์อินเดียเติบโตสูงถึงปีละ 26% โดยมียอดขายจักรยานยนต์เป็นอันดับ 1 (76%) รองลงมาเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (17 %) รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (5%) และรถสามล้อ (3%) ตามลำดับ ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้านำเข้าคิดเป็นสัดส่วนถึง 31% ของความต้องการ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 42% ในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ในปี 2553 อินเดียมีการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากไทย 172 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 118%
อินเดียมีโรงงานผลิตรถยนต์ยี่ห้อดังเกือบทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นเมอร์ซิเดส-เบนส์ BMW ซูซูกิ (ฐานการผลิตอยู่ที่กรุงนิวเดลี) โตโยตา (ฐานการผลิตอยู่ที่บังกะลอร์) และฮุนได (ฐานผลิตอยู่ที่เมืองเจนไน) ในปี 2554 อินเดียนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์มูลค่า 2,826 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการนำเข้าจาก เกาหลีมากที่สุด (26.5%) รองลงมาเป็นญี่ปุ่น (14.3 %) เยอรมนี (11.4 %) จีน (10.5 %) เชค (6.6 %) และไทย (6 %) ตามลำดับ โดยไทยทิ้งห่างคู่แข่งในอาเซียน คือฟิลิปปินส์ ที่อยู่อันดับ 14 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 1%
ประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายอันดับต้นๆ ที่อินเดียสนใจนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์มากขึ้น โดยมีการขยายตัวของการนำเข้าสูงสุด (118%) เนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี FTA ทั้งภายใต้กรอบ FTA ไทย-อินเดีย และ FTA อาเซียน-อินเดีย อีกทั้งทั้งสองประเทศก็มีเป้าหมายการเป็นดีทรอยส์ของเอเซียเหมือนกัน จึงสามารถเกื้อกูลกันได้เป็นอย่างดี โดยล่าสุดบริษัทไครส์เลอร์-อินเดีย ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อไครส์เลอร์เฟียต ดอด์จ จี๊ป และแรม สนใจนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายการจากไทยเพื่อป้อนสายการผลิต นอกจากนั้นยังมีผู้บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรม Sri City –ของอินเดียก็ต้องการซื้อชิ้นส่วนยานยนต์จากไทยเช่นกัน ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าฯ
ณ เมืองเจนไน