อินเดียเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่มองเห็นความสำคัญของเขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (EPZ: Export Processing Zone) ในฐานะกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการส่งออกของประเทศให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
โดยเขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกดังกล่าวจะสามารถขจัดปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของอินเดียได้ เช่น ปัญหาการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานตามมาตรฐานโลก ปัญหาความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล ปัญหาเรื่องพิธีการทางศุลกากร เป็นต้น นอกจากนั้น รัฐบาลอินเดียยังเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมหาศาลที่จะเข้าไปลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอีกด้วย เขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของอินเดียจึงได้ถูกสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกในทวีปเอเชียที่เมืองกันดลา (Kandla) ในรัฐคุชราต (Gujarat) ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ในปี 2508 ตามมาด้วยเขตนิคมอุตสาหกรรมในลักษณะที่คล้ายคลึงกันภายใต้ชื่อที่แตกต่างกันไปอีกหลายแห่ง เช่น Software Technology Park (STP), Export Oriented Unit (EOU) เป็นต้น แต่ปรากฏว่าการดำเนินการในการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวไม่ได้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ไม่ได้ช่วยให้การส่งออกของอินเดียดีขึ้นและไม่ได้ช่วยให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นตามที่คาดหวัง รวมทั้งไม่เป็นไปตามเป้าหมายอื่นๆ ที่ตั้งไว้ด้วย
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ