สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์ 9-15 มกราคม 2559
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี
สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์
9-15 มกราคม 2559
1. รัฐบาลอินเดียแย้มพร้อมทบทวนการเจรจา FTAs ที่ผ่านมา
Government open to reviewing, renegotiating FTAs: Nirmala Sitharaman
วิสาขาปัตนาม: รัฐบาลอินเดียเผยท่าทีเปิดกว้างเพื่อทบทวนและเปิดเจรจาข้อตกลงเสรีทางการค้าหรือ FTAs ที่ได้ดำเนินการร่วมกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนในประเทศของอินเดียโดยยอมรับว่าการใช้ FTAs มีทั้งผลดีและผลเสีย
ทั้งนี้ รมว.พาณิชย์อินเดีย (Nirmala Sitharaman) ได้เปิดเผยว่าภาคอุตสาหกรรมผลิตในประเทศของอินเดียได้มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดทบทวนการเจรจาข้อตกลงเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ที่ผ่านมา อินเดียได้มีการเจรจาข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ แล้วมากกว่า 10 ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียน รวมทั้งอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มสหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และแคนาดา ภายใต้การเจรจาในกรอบพหุภาคีขององค์การการค้าโลก รมว.พาณิชย์อินเดียกล่าวว่าอินเดียเป็นประเทศที่มีความเชื่อมั่นในระบบพหุภาคีและพร้อมที่จะทำให้เกิดการค้าเสรีและเป็นธรรมขึ้นในระบบการค้าโลก แต่ยังคงมีข้อกังวลถึงการใช้เวลาที่ค่อนข้างนานในการสรุปกรอบการค้าภายใต้องค์การการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของบางประเทศที่มีต่อความสำเร็จในการเจรจาภายใต้กรอบดังกล่าว
นอกจากนี้ รมว.พาณิชย์อินเดียยังได้กล่าวถึงข้อขัดแย้งภายใต้ Doha Development Agenda ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบสิบห้าปี โดยประเทศส่วนใหญ่พอใจกับการดำเนินการต่างๆ ยกเว้นประเทศในกลุ่ม LDCs และประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กซึ่งยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่น่าพอใจได้ เป็นผลให้อินเดียแสดงความผิดหวังต่อความล่าช้าในกรอบการค้าต่างๆ ภายใต้องค์การการค้าโลกอย่างไรก็ตาม รมว.พาณิชย์อินเดียยังคงยืนยันว่าอินเดียได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งขยายการค้าและการลงทุนภายใต้กรอบโครงสร้างทางการค้าใหม่ในปัจจุบัน
Source: The Economic Times,11 January, 2016
2. อุตสาหกรรมล้อยางรถยนต์อ้างการนำเข้ายางพาราธรรมชาติน้อยกว่าปริมาณส่วนเกินในประเทศของปีนี้
Rubber and tyre industry says imports have been less than production-consumption gap this year
โคชิ : อุตสาหกรรมยางและล้อยางรถยนต์ของอินเดียแสดงข้อมูลเพื่อโต้แย้งข้อกล่าวหาจากผู้ปลูกยางพาราในแถบภาคใต้ของอินเดีย(United Planters Association of Southern India, UPASI) ว่ามีการนำเข้ายางพาราธรรมชาติ (Natural Rubber, NR) สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงของอินเดีย
จากข้อมูลของ Rubber Board ของอินเดียซึ่งอุตสาหกรรมยางและล้อยางรถยนต์ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูล พบว่าปริมาณส่วนขาดของยางพาราในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม 2558 เท่ากับ 2.55 แสนตัน ในขณะที่ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการนำเข้ายางธรรมชาติจาก ต่างประเทศจำนวน 2.52 แสนตัน
ทั้งนี้ ผู้แทนจากอุตสาหกรรมยางฯ President All India Rubber Industries Association (AIRIA), Mr.Mohinder Gupta ให้ความเห็นว่าการกล่าวอ้างจากผู้ปลูกยางพาราที่โจมตีการนำเข้ายางพาราจำนวนมากส่งผลต่อผลประโยชน์ของผู้ปลูกยางพารา ในทางตรงข้ามอุตสาหกรรมยางฯ กลับได้รับผลเสียจากการเพิ่มภาษีนำเข้ายางพาราในช่วงที่ผ่านมาจนทำให้อุตสาหกรรมปลายน้ำไม่สามารถแข่งขันในด้านราคากับคู่แข่งอื่นๆ ได้
นอกจากนี้ Director General, Automotive Tyre Manufacturers Association (ATMA), Mr.RajivBudharajaยังคงโต้แย้งข้อมูลที่ว่าการนำเข้ายางพาราธรรมชาติส่งผลต่อราคาจำหน่ายยางพาราในอินเดีย โดยให้ข้อมูลว่าในปัจจุบันราคายางพาราอินเดียมีราคาสูงกว่าราคายางธรรมชาติในตลาดโลกประมาณร้อยละ 20-25 ซึ่งทำให้การนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อทดแทนการขาดแคลนยางในประเทศ
ทั้งนี้ ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า การใช้ยางพาราธรรมชาติภายในประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2015-16 ได้หดตัวลงสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณมูลค่าเพิ่มในการผลิตยางของอินเดียที่ลดลงตามไปด้วย และจากสถิติการผลิตยางในอินเดียพบว่ามีปริมาณการผลิตลดลงเช่นเดียวกันกับการส่งออกยาง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มภาษีนำเข้ายางธรรมชาติและการนำเข้ายางรถยนต์บรรทุกและรถบัสจากจีนส่งผลอย่างยิ่งต่อการอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ในประเทศอินเดีย
Source: The Economic Times, 11 January, 2016
3. กระทรวงเหล็กของอินเดียเตรียมยื่นเสนอเพิ่มเพดานอัตราภาษีนำเข้าเหล็กสูงสุดเป็นร้อยละ 25
Ministry to propose increasing peak customs duty on steel to 25%
ภายหลังจากความพยายามของอุตสาหกรรมเหล็กของอินเดียที่ต้องการให้เพิ่มภาษีศุลกากรขาเข้าสินค้าเหล็กซึ่งทำให้กระทรวงเหล็กของอินเดียจะเสนอให้มีการเพิ่มอัตราภาษีสูงสูดเป็นร้อยละ 25 ในช่วงปีงบประมาณหน้า จากที่มีระดับเพดานในปัจจุบันที่ร้อยละ 15 ทั้งนี้ยังคงอยู่ในช่วงระดับเพดานที่องค์การการค้าโลกอนุญาตในระดับสูงสูดที่ร้อยละ 40
ที่ผ่านมากระทรวงการคลังของอินเดียได้เพิ่มระดับเพดานอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสินค้าเหล็กสูงสุดที่ร้อยละ 15 ในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งยังคงไม่สามารถลดปริมาณการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศได้ โดยเฉพาะการนำเข้าเหล็กจากจีน เกาหลีใต้ และรัสเซีย ท่ามกลางผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ โดยมีปริมาณรายได้ของอุตสาหกรรมลดลงกว่าร้อยละ 40 ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
จากปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้กระทรวงเหล็กของอินเดียมีความจำเป็นในการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าในปีงบประมาณหน้า อนึ่ง อินเดียได้เพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจำนวน 2 ครั้งๆ ละ ร้อยละ 2.5 ในช่วงเดือนมิถุนายน และสิงหาคม 2558 รวมทั้งการใช้มาตรการ safeguard และ antidumping ในบางสินค้าประเภทเหล็กที่มีการนำเข้าในช่วงอัตรา 180 – 316 เหรียญสหรัฐต่อตัน
Source: The Finanial Express, 12 January, 2016
4. อุตสาหกรรมรถยนต์อินเดียหวั่นการลดการนำเข้าเหล็กจะส่งผลต่อการผลิตรถยนต์ในประเทศ
Auto industry fears steel import curbs would hamper manufacturing operations
นิวเดลี และโกลกัตตา : ผู้ผลิตรถยนต์ในอินเดียบางรายเริ่มแสดงความกังวลใจในการตัดสินใจของรัฐบาลในการห้ามนำเหล็กที่ไม่ได้การรับรองจาก Bureau of Indian Standards (BIS) หรือ the Steel and Steel Products Quality Control Order 2015 ในช่วงเดือนธันวาคม 2558 เพื่อไม่ให้นำมาผลิต จัดเก็บหรือจำหน่ายในอินเดีย ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตรถยนต์ของอินเดีย
ทั้งนี้ กฎข้อบังคับดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2559 ซึ่งในมุมมองของอุตสาหกรรมเหล็กจะช่วยลดการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ แต่สำหรับมุมมองกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในอินเดียโดยเฉพาะผู้ผลิตรถแบรนด์จากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่างมีการนำเข้าสินค้าเหล็กเนื่องจากเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความสำคัญ หากกระทรวงเหล็กของอินเดียบังคับใช้กฎดังกล่าวจริงจะส่งผลให้เกิดการชะงักงันในการผลิตรถยนต์นั่งในอินเดียได้
ทั้งนี้ กฎข้อบังคับดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2559 ซึ่งในมุมมองของอุตสาหกรรมเหล็กจะช่วยลดการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ แต่สำหรับมุมมองกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในอินเดียโดยเฉพาะผู้ผลิตรถแบรนด์จากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่างมีการนำเข้าสินค้าเหล็กเนื่องจากเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความสำคัญ หากกระทรวงเหล็กของอินเดียบังคับใช้กฎดังกล่าวจริงจะส่งผลให้เกิดการชะงักงันในการผลิตรถยนต์นั่งในอินเดียได้
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ของอินเดียจะใช้เทคโนโลยีการผลิตของตนในการรับรองมาตรฐานของรถยนต์และเลือกประเภทเหล็กเพื่อใช้ในการผลิตให้เหมาะสมตามมาตรฐานดังกล่าว สำหรับมาตรฐานของ BIS เป็นมาตรฐานที่ค่อนข้างผ่อนคลายมากกว่ามาตรฐานสากลในระดับโลกซึ่งเป็นมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นกฎข้อบังคับดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อผู้ผลิตรถยนต์ในอินเดียโดยถึงแม้จะยังไม่มีตัวเลขการนำเข้าเหล็กเพื่อผลิตรถยนต์ที่ชัดเจน แต่มีการคาดการณ์กันว่ามีปริมาณประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์นั่งของอินเดียซึ่งมาจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
ในขณะที่สมาคม Automotive Component Manufacturer’s Association (ACMA) ยังคงเห็นว่าต้นทุนการผลิตรถยนต์ส่วนร้อยละ 70 มาจากสินค้าวัตถุดิบเพื่อผลิต ซึ่งจะรวมถึงเหล็กด้วย ดังนั้นเมื่อมีการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวภายในเดือนมีนาคมนี้ อาจจะทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถเสร็จสิ้นกระบวนการรับรองจาก BIS ได้ทัน สำหรับกระบวนการขอการรับรองจาก BIS จะต้องมีการจัดเจ้าหน้าที่ของอินเดียไปศึกษากระบวนการผลิตในประเทศนำเข้าซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน
อนึ่ง การบังคับใช้มาตรการดังกล่าวมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดการนำเข้าสินค้าเหล็กนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าเหล็กที่สูงเพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 41 หรือประมาณ 5.42 ล้านตัน ในช่วงเดือนเมษายน - กันยายน 2558
Source: The Economic Times, 13 January, 2016