สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์ 6-12 กุมภาพันธ์ 2559 (อินเดีย)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี
สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์
6-12 กุมภาพันธ์ 2559 (อินเดีย)
1. อินเดียเสนอข้อตกลงทางการค้ากับกลุ่ม Euraseian Economic Union (EAEU) ภายใต้ระบบ fast track
India’s proposed trade pact with Russia-led EAEU bloc on fast track
ในขณะที่อินเดียต้องการเร่งการเจรจาเสรีทางการค้ากับกลุ่มประเทศ Eurasian Economic Union (EAEU) ซึ่งนำโดยประเทศรัสเซียนั้น อินเดียมีความต้องการหวังผลให้สามารถเจาะเข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่มหึมาของรัสเซียและประเทศเพื่อนบ้านในละแวกดังกล่าวให้ได้มากขึ้น ดังนั้น อินเดียจึงเตรียมข้อแลกเปลี่ยนในการเจรจาฯ ภายใต้การศึกษาร่วม(Joint Study Group) ถึงความเป็นไปได้ในการตกลงเสรีทางการค้าดังกล่าวกับอีก 5 ประเทศ (รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย และ เคอร์กีร์สถาน) ภายใต้ระบบ fast track ซึ่งเป็นระบบที่อินเดียคาดหวังให้มีการผลการตกลงที่รวดเร็วที่สุดในบรรดาการเจรจาฯ ที่มีมา (เริ่มมีการศึกษา Joint Study Group) ในช่วงเดือน กรกฎาคม ปี 2015 ทั้งนี้ หากการเจรจาดังกล่าวประสบผลสำเร็จจะทำให้อินเดียสามารถเปิดตลาดในกลุ่มประเทศดังกล่าวซึ่งมีกำลังซื้อจากประชากรกว่า 180 ล้านคน และมีขนาดของ GDP ประมาณ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐได้
ทั้งนี้ อินเดียต้องการให้ข้อตกลงฯ ครอบคลุมถึงสินค้า บริการ และการลงทุน โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมยา เครื่องนุ่งห่ม สินค้าเกษตร และพลังงาน ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันและเป็นอุตสาหกรรมหลักในการเจรจา โดยหากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและสหภาพยุโรปยังไม่ลดลงจะทำให้อินเดียมีโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหารป้อนตลาดรัสเซียได้มากยิ่งขึ้น
อนึ่ง มูลค่าการส่งออกอินเดียไปยังกลุ่มประเทศ EAEU ในปี 2014-15 อยู่ที่ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้ามูลค่าจำนวน 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐถูกส่งไปยังรัสเซีย เฉพาะกรุงมอสโกแห่งเดียวมีการนำเข้าสินค้าจากอินเดียไปแล้วกว่า 282 พันล้านเหรียญในปี 2014
Source: The Hindu Business Line, 7 February, 2016
2. การกำหนดราคานำเข้าขั้นต่ำเหล็กพ่นพิษส่งผลต่อสินค้าเหล็กส่งออกของอินเดีย
Minimum import price on steel to hit engineering exports: EEPC
มุมไบ: หลังจากที่รัฐบาลอินเดียประกาศบังคับใช้ราคานำเข้าขั้นต่ำของสินค้าเหล็กจากต่างประเทศจำนวน 173รายการเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมผลิตเหล็กภายในประเทศนั้น
ในประเด็นดังกล่าวนี้จะทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการใช้เหล็กในประเทศมีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นประมาณร้อยละ 6-7 ขึ้นอยู่กับปริมาณเหล็กที่ต้องใช้
The Engineering Export Promotion Council (EEPC) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่ต้องใช้เหล็กในการผลิตเพื่อส่งออก ได้ขอให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือในส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นในการผลิตดังกล่าวในกรณีที่บริษัทขนาดเล็กนำเหล็กมาผลิตเพื่อการส่งออก
ประธานกลุ่ม EEPCIndia, Mr.TSBhasinได้ให้ความเห็นว่าการปกป้องบริษัทผลิตเหล็กขนาดใหญ่ของอินเดียด้วยวิธีดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องมายังการผลิตเพื่อการส่งออกในกลุ่ม SMEs ซึ่งอาจต้องเผชิญปัญหาการแข่งขันในตลาดโลกซึ่งเรื่องต้นทุนจะเป็นปัจจัยหลักในการประสบความสำเร็จในธุรกิจของกลุ่ม SMEs ดังกล่าว โดยกลุ่ม EEPC ต้องการให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือด้านการเยียวยาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในลักษณะของ International Price Reimbursement Scheme ในทันที
นอกจากนี้ประธานกลุ่ม EEPC ยังเห็นว่าหากรัฐบาลประกาศใช้กำหนดราคานำเข้าขั้นต่ำ ก็ควรยกเลิกมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard measure) นอกจากนี้ยังกล่าวถึงระบบ Advance Authorization ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มนำเข้าผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าต้นทุนต่างๆ ว่ากลุ่ม SMEs ในอินเดียยังไม่ได้รับประโยชน์จากระบบดังกล่าว
อนึ่ง มูลค่าการส่งออกของสินค้าทางวิศวกรรมที่จำเป็นต้องใช้เหล็กของอินเดียมีมูลค่าประมาณร้อยละ 23 ของมูลการส่งออกสินค้าทั้งหมดของอินเดีย โดยมีปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 16 ในเดือนธันวาคม 2015
Source: The Hindu BusinessLine,7February, 2016
3.รัฐบาลอินเดียไม่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่นำมาแสดงในงานแสดงสินค้าเพื่อการส่งออก
Government eases duty norms for imported goods for exhibition
นิวเดลี :
ในขณะที่รัฐบาลอินเดียกำลังหาทางส่งเสริมเรื่อง Ease of Doing Business ในประเทศ กรมสรรพากรของอินเดียจึงได้อนุญาตให้ไม่จัดเก็บภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่นำมาแสดงในงานแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งรวมถึงสินค้าประเทศเครื่องประดับ ตกแต่ง และอัญมณี หากนำมาแสดงแล้วสามารถส่งออกได้ภายในหกเดือน
สินค้าที่นำเข้ามาเพื่อแสดงดังกล่าวจะรวมถึงสินค้าในงาน Trade Fair, Craft Exhibition, Film festival หรือ Aero shows เป็นต้น
สำหรับในกรณีของสินค้าอัญมณี เครื่องประดับ ของมีค่าทั้งที่ดำเนินการเจียระไนแล้ว และยังเจียระไนไม่เสร็จ ผู้นำเข้าจะต้องยื่นใบรับรองจาก Gems and Jewellery Export Promotion Council เพื่อแสดงว่าสินค้าที่นำมาจัดแสดงในงานเป็นสินค้าที่ได้รับการสนับสนุนจากทาง Council ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะไม่รวมถึงงานแสดงสินค้าที่จัดโดยภาคเอกชนหรืองานแสดงสินค้าที่มีจุดประสงค์สำหรับส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศเป็นหลัก
Source: The Economic Times, 8 February, 2016
4. อินเดียผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาการอำนวยความสะดวกทางการค้าบริการ
India pushing for a WTO Trade Facilitation Treaty on Services
นิวเดลี :
อินเดียกำลังผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาการอำนวยความสะดวกทางการค้าบริการภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO Trade Facilitation Treaty on Services) เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกในลักษณะเดียวกันกับการค้าสินค้า (Goods) โดยเฉพาะการค้าบริการในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ในเรื่องดังกล่าว ปลัดกระทรวงพาณิชย์ของอินเดีย Rita Teaotia ได้ให้ความเห็นว่า มีความจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาดังกล่าวขึ้น นอกเหนือไปจากการเร่งให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้า ซึ่งการหมุนเวียนในการค้าบริการก็จะเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าในการผลักดัน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวอีกว่า ในขณะนี้อินเดียอยู่ระหว่างการรอให้สัตยาบันสำหรับสนธิสัญญาฯ ด้านสินค้า
อนึ่ง องค์การการค้าโลกได้ดำเนินการเจรจาในกรอบความตกลงการค้าบริการ ( A Trade in Service Agreement, TISA) ในกลุ่มประเทศ 23 ประเทศ ซึ่งจะครอบคลุมสาขาบริการต่างๆ ได้แก่ การจดทะเบียน การให้บริการการเงิน โทรคมนาคม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์นาวี และ อาชีพที่จะให้บริการในต่างประเทศได้ เป็นต้น
Source: The Economic Times, 9 February, 2016
5. อินเดียย้ำต้องเปิดเสรีบริการหากต้องการปิดดีลสินค้าในวง RCEP
RCEP : Tough-talking Delhi says free services if you want deals on goods
นิวเดลี : ในการเจรจา RCEP รอบต่อไปที่ประเทศบรูไน อินเดียพยายามจะให้เกิดความคืบหน้าในเจรจากรอบความตกลงด้านเคลื่อนย้ายของแรงงานในสาขาอาชีพเฉพาะมากขึ้น โดยพร้อมที่จะจับมือกับประเทศที่มีความเห็นใกล้เคียงกันในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลักดันการเจรจาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอินเดียเห็นว่าการเจรจาในกรอบสินค้า (Goods) มีความคืบหน้าเป็นอย่างมากในขณะที่การเจรจาในกรอบการค้าบริการซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงาน สาขาอาชีพต่างๆ ระหว่างกลุ่มประเทศ 16 ประเทศสมาชิกยังมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย
ดังนั้นในการประชุมในรอบถัดไปที่ประเทศบรูไน อินเดียจะจัดทำร่างความตกลงเพื่อการเคลื่อนย้ายแรงงานที่เป็น Contractual services suppliers (CSS) และแรงงานสาขาอาชีพอิสระ (Independent professionals) เพื่อนำเสนอในที่ประชุมต่อไป โดยที่ผ่านมาอินเดียได้เสนอเอกสารสำหรับการค้าบริการใน Mode 4 ซึ่งเป็นการให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Person) เมื่อเดือนตุลาคม 2015 โดยยืนยันที่จะให้เกิดการเจรจาด้านการค้าสินค้าและการค้าบริการดำเนินการไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ จากผลการประชุม RCEP ที่ผ่านมา กลุ่มประเทศสมาชิก RCEP ได้มีความคืบหน้าในการเจรจาลดภาษีร่วมกันทั้งกลุ่มในระดับหนึ่งแล้ว ขณะนี้กำลังเริ่มการเจรจาเพื่อลดภาษีเฉพาะประเทศภายในกลุ่ม ยกตัวอย่าง เช่น อินเดียและจีนได้เห็นพ้องในการลดภาษีระหว่างกันลงแล้วร้อยละ 42.5 สำหรับจำนวนสินค้าที่มีค้าระหว่างทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ อินเดียยังได้เสนอการลดภาษีจำนวนร้อยละ 62.5 ของสินค้าทั้งหมดที่ค้ากับออสเตรเลีย และเสนอลดภาษีจำนวนร้อยละ 80 ของสินค้าทั้งหมดที่ค้ากับนิวซีแลนด์ เป็นต้น
Source: The Hindu Business Line, 9 February, 2016
สคร.นิวเดลี
มกราคม 2559
Disclaimer: การเผยแพร่ข้อมูลใน “สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการนาข้อมูลนี้ไปใช้