สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์ 20 – 26 กุมภาพันธ์ 2559 (อินเดีย)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี
สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์
20 – 26 กุมภาพันธ์ 2559 (อินเดีย)
1. ASSOCHAM ประเมินความเสียหาย 200,000 ล้านรูปีจากเหตุประท้วงในรัฐหริยานะ
ASSOCHAM pegs losses to th tune of Rs 20,000 crore due to ongoing violent agitation in Haryana
จัณฑิครห์: จากเหตุประท้วงของชาวชาฎ (Jat) ในรัฐหริยานะซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของอินเดีย เนื่องจากความไม่พอใจในนโยบายการให้สวัสดิการและจัดสรรการจ้างงานที่ไม่เท่าเทียมของรัฐดังกล่าว ในเรื่องนี้ The Associated Chambers of Commerce & Industry of India หรือ ASSOCHAM India ได้ประเมินผลความเสียหายจากเหตุประท้วงดังกล่าวในเบื้องต้นประมาณ 180,000 – 200,000 ล้านรูปี (เทียบเท่า 99,864 – 110,960ล้านบาท) ทั้งในด้านทรัพย์สินของรัฐและเอกชน เนื่องจากรัฐหริยานะเป็นเมืองที่มีพื้นที่ติดกับรัฐอื่นๆ ทางตอนเหนือที่สำคัญมีเส้นทางการขนส่งไปยังรัฐอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งเส้นทางถนน รถไฟ และรถบัสต่างๆ เมื่อเกิดการประท้วงและการปิดเส้นทางคมนาคม รวมทั้งแหล่งน้ำที่สำคัญจึงส่งผลให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ทั้งนี้พื้นที่เมืองต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจการค้าได้แก่ Rohtak, Jhajjar, Bhadurgarh, Hissarm Bhiwanim Jind, Gohana, Sonipat, Kaithal, Karnal, และ Panipal เป็นต้น
Source: The Economic Times, 21 February, 2016
2. India likely to review FTAs after WTO’s facilitation pact kicks in
นิวเดลี : ในการประชุมเกี่ยวกับข้อตกลง FTA ต่างๆของอินเดีย
ภายหลังการลงสัตยาบันความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอินเดีย ที่มีนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี เป็นประธานเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 ได้มีการหารือร่วมกับรัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะกำหนดท่าทีการเจรจา FTA ของอินเดียกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ภายหลังที่เริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Agreement, TFA) ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก
ทั้งนี้ TFA จะส่งผลต่อการเร่งรัดกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการตรวจและปล่อยสินค้าผ่านแดนและข้ามแดนต่างๆ ทำให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างพิธีการศุลกากรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
สำหรับอินเดียแล้วการให้สัตยาบันสำหรับความตกลง TFA จะทำให้เกิดผลบวกสำหรับประเทศคู่ค้าของอินเดียที่จะส่งออกสินค้ามายังอินเดียได้อย่างสะดวกมากขึ้น ลดขั้นตอนและระยะเวลาการขนส่งต่างๆ ซึ่งในขณะนี้มีสมาชิกองค์การการค้าโลกร่วมให้สัตยาบันแล้วจำนวน 69 ประเทศจากทั้งหมด 162 ประเทศ (ความตกลง TFA จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีประเทศจำนวนสองในสามร่วมให้สัตยาบัน)
Source: The Economic Times, 23 February, 2016
3.อินเดียหวังการจดขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวบาสมาติช่วยรักษาเสถียรภาพราคาในตลาดโลก
GI tag for basmati stabilise prices
จัณฑิครห์: รัฐทางด้านตอนเหนือของอินเดีย ได้แก่
พื้นที่ในรัฐปัญจาบ หริยานะ หิมาจัลประเทศ อุตรจัน จัมมูและแคชเมียร์ รวมถึงพื้นที่บางส่วนในรัฐอุตตระประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการปลูกข้าวพันธุ์บาสมาติของอินเดียหวังให้ความพยายามในการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมบาสมาติช่วยลดความแกว่งของราคาข้าวบาสมาติในตลาดโลกในช่วงปัจจุบันนี้ หลังจากเกิดเหตุราคาข้าวบาสมาติตกต่ำกว่าร้อยละ 25
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวบาสมาติในตลาดโลกตกต่ำเนื่องจากปริมาณข้าวที่ล้นตลาดและส่งผลกระทบกับราคาข้าวบาสมาติที่จำหน่ายในอินเดีย ทำให้ราคาจำหน่ายในปัจจุบันในพื้นที่รัฐปัญจาบและหริยานะถือว่ากำลังอยู่ช่วงต่ำที่สุดและต้องการการช่วยเหลือจากภาครัฐใช้มาตรการสนับสนุนราคาขั้นต่ำ (Minimum support price, MSP) ที่ราคาเท่ากับ 1,450 รูปีต่อquintal (100 กิโลกรัม) จากเดิมที่เกษตรกรเคยจำหน่ายได้ในราคา 3,000 – 3,500รูปีต่อ quintal ในช่วงปีเพาะปลูกช่วงมรสุม (Kharif) ของปี 2014 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการเพาะปลูกข้าวบาสมาติในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้นนอกเหนือจากพื้นที่แถบภาคเหนือของอินเดียทำให้ปริมาณข้าวบาสมาติผลิตออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้นการจดทะเบียน GI สำหรับข้าวบาสมาติที่เพาะปลูกในพื้นที่ราบลุ่ม Indo-Ganga ซึ่งได้รับความนิยมจากกลิ่นหอมเฉพาะและลักษณะเมล็ดที่เรียวยาวจะช่วยป้องกันให้ราคาข้าวหอมบาสมาติไม่ถูกผลกระทบจากราคาที่ผันผวนมากนัก
เจ้าหน้าที่ของ Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority (APEDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของอินเดียที่มีหน้าที่ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ได้ให้ข้อมูลว่าในปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวบาสมาติที่เกินความต้องกว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30-40 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ APEDA หวังให้การจดทะเบียน GI ข้าวหอมบาสมาติจะช่วยปกป้องข้าวหอมบาสมาติที่แท้จริงจากการโฆษณาของประเภทข้าวอื่นๆ ที่ไม่ได้เพาะปลูกในพื้นที่ราบลุ่ม Indo-Ganga แต่อ้างว่าเป็นข้าวบาสมาติซึ่งรวมถึงข้าวหอมจากประเทศอื่นๆ อีกด้วย ทั้งนี้การมีปริมาณข้าวบาสมาติที่เกินความต้องการส่งผลต่อราคาจำหน่ายในตลาดโลกที่ลดลงกว่าร้อยละ 25 ในปี 2015-16 นี้
Source: Business Standard, 23 February, 2016
4. ยอดนำเข้าทองคำเดือนกุมภาพันธ์ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2013
Feb gold imports seen at lowest since 2013
มุมไบ:ในเดือนกุมภาพันธ์
นับตั้งแต่ราคาทองคำเริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาส่งผลการนำเข้าทองคำของอินเดียลดลงต่ำสุดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันอินเดียในฐานะประเทศนำเข้าทองคำอันดับสองของโลกมีปริมาณการนำเข้าทองคำลดลงแตะระดับต่ำสุดในช่วงสองปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2013 สาเหตุสำคัญมาจากราคาทองคำโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่ผู้ค้าทองในประเทศตั้งราคาขายต่ำกว่าราคาทองคำนำเข้าประมาณร้อยละสาม (28,500 – 29,000 รูปีต่อน้ำหนักทองคำ 10 กรัม) เพื่อดึงดูดผู้ซื้อในช่วงที่ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง แต่ก็ยังมีผู้สนใจจำนวนน้อยลงในช่วงตลาดที่ซบเซาขณะนี้
อนึ่ง ปริมาณการนำเข้าทองคำมีแนวโน้มที่หดตัวลงเหลือเพียง 25 ตันทองคำเมื่อสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งถือเป็นปริมาณนำเข้าเพียงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับปริมาณนำเข้าในเดือนก่อนหน้า และถือเป็นระดับนำเข้าที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2013
สำหรับผู้ประกอบการด้านอัญมณีและผู้ค้าปลีกทองคำในประเทศพยายามชะลอการซื้อทองคำจากต่างประเทศเพื่อหวังให้มีการปรับราคาในตลาดโลกและยังคงหวังให้รัฐบาลอินเดียลดอัตราภาษีศุลกากรลงร้อยละ 4 ในช่วงการเสนองบประมาณ 2016 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้
Source: Business Standard, 23 February, 2016
5.อินเดียเสนอขอเพิ่มการเข้าสู่ตลาดบริการในการเจรจากรอบ RCEP ที่บรูไน
India presses for greater market access in services at RCEP
ในการประชุมเจรจาการค้าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ประเทศบรูไนฯ อินเดียได้ขอเจรจาให้มีการเปิดเสรีภาคบริการมากขึ้นโดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือที่อินเดียต้องการให้เปิดกว้างมากขึ้น
ในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 11 ซึ่งรอบถัดไปจะจัดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลียในวันที่ 22 เมษายน 2559
ทั้งนี้อินเดียได้พยายามผลักดันการเปิดเสรีภาคบริการให้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อินเดียได้ประโยชน์เนื่องจากมีแรงงานฝีมือวิชาชีพเฉพาะ เช่น แรงงานด้านไอทีที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว
นอกจากนี้ในการประชุม RCEP ครั้งนี้ อินเดียยังไม่ได้เสนอลดภาษีนำเข้าสำหรับเหล็กจากจีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์แต่อย่างใด โดยอินเดียเห็นว่าแต่ละประเทศยังไม่ได้มีข้อเสนอในการลดภาษีสินค้าในระดับที่เคยตกลงกันไว้
Source: The Economic Times, 24February, 2016
6. มาแล้ว!!! รถจักรยานยนต์คลาสสิคเริ่มนำเข้าและจำหน่ายในเมืองไทย
Royal Enfield starts retail operation in Thailand
นิวเดลี :
ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ของอินเดียยี่ห้อ Royal Enfield ได้เปิดเผยว่าได้วางแผนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อดังกล่าวในประเทศ โดยจะเริ่มเปิดตัวร้านจำหน่ายแห่งแรกในกรุงเทพฯ บริเวณซอยทองหล่อ (ภายใต้การบริหารของบริษัท General Auto Supply จำกัด) โดยจะเป็นโชว์รูมสำหรับโชว์สินค้าสนนราคาเริ่มตั้งแต่ 179,000บาท ไปจนถึงระดับราคา 219,800บาท
ผู้บริหารของ Royal Enfield, Mr.Arun Gopal กล่าวว่าบริษัทเชื่อว่ายอดการเติบโตในอนาคตจะมาจากตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยเนื่องจากรถจักรยานยนต์เป็นที่ได้รับความนิยมในการขับขี่ เช่นเดียวกับการตั้งเป้าขยายตลาดเพิ่มเติมไปยังตลาดอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ขยายการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฯ ไปยังตลาดอังกฤษ ยุโรป ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และขยายมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
อนึ่ง รถจักรยานยนต์ Royal Enfield มียอดจำหน่ายโตร้อยละ 65 ในช่วงเดือนเมษายน 2558 - มกราคม 2559 ที่ผ่านมาคิดเป็นจำนวน 47,710 คัน เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายจำนวน 28,927 ในช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตามจำนวนการส่งออกลดลงร้อยละ 26 เหลือเพียง 570 คัน จากเดิม 770 คัน
Source: The Economic Times, 24 February, 2016
7. ผลผลิตยางธรรมชาติอินเดียเดือนมกราคมลดร้อยละ 3 นำเข้าเพิ่มร้อยละ 21
Natural rubber output falls 3 percent in January, imports up 21 percent
นิวเดลี :
ปริมาณผลผลิตน้ำยางพาราธรรมชาติในเดือนมกราคม 2559 ลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนมกราคม 2558 ในขณะที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 คิดเป็นจำนวนนำเข้า 35,174 ตัน
โดยข้อมูลจาก Rubber Board data พบว่าปริมาณการผลิตอยู่ที่ 58,000 ตัน ในขณะที่ปริมาณการใช้ยางพาราธรรมชาติในประเทศลดลงเหลือ 82,000 ตันในช่วงเดือนมกราคม 2559 (เทียบกับ 83,850 ตันในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)
ทั้งนี้จากข้อมูลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2015-16 (เมษายน 2558 - มกราคม 2559) พบว่า ปริมาณการผลิตลดลงเกือบร้อยละ 13 เหลือจำนวนการผลิต 496,000 ตัน เทียบกับจำนวน 568,000 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
รวมทั้ง การบริโภคใช้ยางพาราธรรมชาติลดลงร้อยละ 3 เหลือจำนวน 821,910 ตัน เทียบกับจำนวนที่ใช้ 848,535 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับการนำเข้ามีปริมาณการนำเข้าลดลงเหลือ 365,805 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2015-16 เทียบกับจำนวนนำเข้า 380,175 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียได้จำกัดท่าเรือที่สามารถนำเข้ายางพาราธรรมชาติได้เพียงสองท่าเรือในเดือนมกราคมที่ผ่านมาคือท่าเรือเจนไนและท่าเรือ Nhava Sheva เพื่อจำกัดปริมาณการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ผลิตในประเทศยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของการนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศในขณะที่ราคา
ในประเทศกำลังตกต่ำในปัจจุบัน
Source: The Economic Times, 25 February, 2016
สคร.นิวเดลี
มกราคม 2559
Disclaimer: การเผยแพร่ข้อมูลใน “สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการนาข้อมูลนี้ไปใช้