สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์ 25มิถุนายน – 1 กรกฎาคม2559 (อินเดีย)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี
สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์
25มิถุนายน – 1 กรกฎาคม2559 (อินเดีย)
1. ภาคธุรกิจยาและเวชภัณฑ์คาดขยายตัวร้อยละ20 หลังการผ่อนคลายกฎFDI
(Pharma sector to grow by 20 per cent on relaxed FDI norms: Ananth Kumar)
นิวเดลี: จากการเปิดเผยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเคมีและปุ๋ย Ananth Kumar พบว่าภาคธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ของอินเดียคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 20 ในการผ่อนคลายกฎระเบียบบรรทัดฐานด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีหน้าที่มุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต
ในขณะที่อินเดียความต่อเนื่องกับการลงทุนจากต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 100 ภายใต้การกำหนดเส้นทางอัตโนมัติในการเปิดธุรกิจใหม่ๆ ในด้านยาและเวชภัณฑ์ (greenfield pharmaceuticals) สัปดาห์ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ให้อนุญาตไปแล้วกว่าร้อยละ 74 ต่อการลงทุนต่างประเทศโดยบริษัทที่เข้าเงื่อนไขBrownfield Pharma จะได้รับการอนุญาตโดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ของอินเดียมีการเติบโตโดยร้อยละ14ต่อปีและหากมีการผ่อนคลายกฎFDI มากยิ่งขึ้น รัฐมนตรี Ananthคาดว่าจะเติบโตกว่าร้อยละ20ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเติบโตที่สูง(Sunrise sector) และหากมีการลงทุนมากขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสการเจริญเติบโตให้มากกว่านี้
ในปัจจุบันอินเดียส่งออกสินค้ายาและเวชภัณฑ์ไปยัง 205 ประเทศ ดังนั้นอินเดียจึงควรมีกระทรวงด้านยาและเวชภัณฑ์แยกมาทำงานด้านนี้โดยเฉพาะต่างหาก เพื่อทำให้เกิดการประสานงานที่ดี โดยรัฐมนตรี Ananthได้เสนอให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับทราบร่วมกับนายกรัฐมนตรี Modi แล้ว
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ของอินเดียกำลังหาวิธีการออกกฎระเบียบควบคุมราคายา ภายหลังที่กระทรวงอื่นๆ ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องไปแล้วเช่นการออกใบอนุญาตการผลิตยาโดยกระทรวงสาธารณสุขการส่งเสริมการค้าโดยกระทรวงพาณิชย์และการพัฒนาวิจัยโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งรัฐมนตรี Ananthเห็นว่าควรนำเนื้องานดังกล่าวมาร่วมกันเพื่อจัดตั้งกระทรวงด้านยาและเวชภัณฑ์ขึ้น
อย่างไรก็ดี การลงทุนโดยตรงในโครงการประเภทBrownfield ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในอินเดียเนื่องจากมีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะการควบรวมและซื้อกิจการ (Merger & Acquisition) ซึ่งคาดกันว่าคิดเป็นร้อยละ96ของFDI ระหว่างเดือนเมษายนปี2012และเมษายน2013
อนึ่ง อินเดียได้รับการยอมรับในฐานะศูนย์กลางการผลิตยาสามัญทั่วไปที่สำคัญของโลก ทั้งนี้ขนาดตลาดของอุตสาหกรรมยาของประเทศมีมูลค่ามากกว่า20 พันล้านเหรียญสหรัฐ
Source: The Economic Times, 28 June, 2016
2. อินเดียนำเข้ายางเพิ่มขึ้นในเดือนช่วงเดือนเมษายน –พฤษภาคม สมาคมATMA สุดกลั้นเรียกร้องให้ใช้ Anti-Dumping
Tyre import up in Apr-May, ATMA calls for anti-dumping duty
นิวเดลี: อินเดียนำเข้ายางเรเดียลของรถบรรทุกและรถบัส(TBR: Truck and bus radial tyres) เพิ่มขึ้นร้อยละ57ในขณะที่ตลาดยางเรเดียลโตร้อยละ20ในช่วงสองเดือนแรกของปีงบประมาณ2016-17กระตุ้นให้สมาคม Automotive Tyre Manufacturers’ Association (ATMA)ขอให้รัฐบาลตอบโต้การทุ่มตลาดการนำเข้ายางเรเดียลจากจีน
ทั้งนี้ ในช่วงปีงบประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมที่ผ่านมามีปริมาณการนำเข้ายางTBR กว่า 2.8 แสนคันในอินเดียเมื่อเทียบกับกว่า1.8 แสนคันในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ก่อนหน้า
โดยในเดือนพฤษภาคมเพียงเดือนเดียว อินเดียนำเข้าTBRs ถึง1.5 แสนหน่วยซึ่งเป็นเกือบร้อยละ40 ของความต้องการการเปลี่ยนยางTBR ในอินเดียทั้งหมดต่อเดือน
การทุ่มตลาดของยางTBR ดังกล่าวเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางในประเทศอินเดียโดย ATMA ได้เรียกร้องไปยังกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เพื่อเร่งรัดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในการนำเข้าTBR ของการนำเข้ายางจากประเทศจีน
ประธาน ATMA (K M Mammen) กล่าวเพิ่มเติมว่าจีนเป็นประเทศที่กุมอำนาจแหล่งผลิตและส่วนแบ่งของการนำเข้าTBR มายังอินเดียมากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ95ในปี2016-17เพิ่มขึ้นจากร้อยละ90ในปี 2015-16 และสูงกว่าร้อยละ70ในปี2014-15และร้อยละ40ในปี2013-14 ทั้งนี้ราคานำเข้าจากจีนต่ำกว่าราคาของวัตถุดิบยางในประเทศอินเดีย
ที่ผ่านมา ผู้ผลิตยางในอินเดียลงทุนอย่างมากถึง250,000ล้านรูปีเพื่อสร้างขีดความสามารถใหม่สำหรับการผลิตยางแบบ TBR ที่ทันสมัย แต่การนำเข้าและการทุ่มตลาดของยางราคาถูกจากจีนจะบั่นทอนความสามารถในการผลิตของอินเดีย
ทั้งนี้ อินเดียเป็นเป้าหมายหลักของจีนที่จะส่งออกยาง TBR ราคาถูกจำหน่ายเนื่องจากจีนถูกสหรัฐฯ ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและ มาตรการ anti-subsidy ต่างๆ มากขึ้นเรื่อย
Source: The Economic Times, 28 June, 2016
3. กระทรวงพาณิชย์รอคณะรัฐมนตรีเคาะเดินหน้าขยายความตกลงอนุสัญญาการค้าเอเชียแปซิฟิก
Commerce department seeks Cabinet nod to expand Asia-Pacific Trade Pact
นิวเดลี: กระทรวงพาณิชย์อินเดียได้ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีในการขยายความตกลงการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APTA: Asia Pacific Trade Agreement) มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตในประเทศ ตามแผนความคิดริเริ่มนโยบาย Make in Indiaซึ่งอินเดียจะมุ่งเน้นการนำเข้าวัตถุดิบและเป็นตัวกลางจากประเทศสมาชิก APTA และในทางกลับกันจะลดภาษีนำเข้าระหว่างกันสำหรับสินค้าประเภทต่างๆ ให้มากขึ้น
ทั้งนี้ ภายใต้กรอบ APTAอินเดียนำเข้าวัตถุดิบและส่วนประกอบต่างๆ ในอุตสาหกรรมกลางน้ำเช่นเครื่องจักรเคมีและพลาสติกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ และปรับปรุงศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในประเทศได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องดังนั้นกระทรวงพาณิชย์ของอินเดียได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาการขยายขอบเขตความตกลงAPTA อย่างเป็นทางการ โดยยังคงตระหนักถึงระดับการพัฒนาระหว่างประเทศในกลุ่มและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนร่วมด้วย
หากการขยายขอบเขตความตกลง APTA ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอินเดีย จะทำให้ความตกลงAPTA กลายเป็นข้อตกลงแรกที่ครอบคลุมการปฏิบัติทางการค้าต่อกันระหว่างบังคลาเทศ,จีน, อินเดีย, ลาว, เกาหลีใต้, ศรีลังกาและมองโกเลีย
อนึ่ง อินเดียได้เสนอลดภาษีนำเข้าของตนเกือบ 3,000 รายการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ570 รายการในปัจจุบัน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่จะลดภาษีลงเกือบหนึ่งในสามของอัตราภาษีนำเข้าในส่วนของอินเดียได้ลดระดับภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 23.9 ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีนำเข้าของสินค้าที่ได้ตกลงกันไว้ในความตกลง APTA
ด้านนักวิชาการ Prof.Ram Upendra Dasอาจารย์ผู้วิจัยและระบบสารสนเทศสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า การนำเข้าวัตถุดิบเช่นแร่ธาตุต่างๆสินค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้ตลาดในประเทศของอินเดียมีการแข่งขันกันมากขึ้น เนื่องจากประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของโลกเช่นอินเดียจีนและเกาหลี ได้อยู่ในข้อตกลงดังกล่าวและจะขยายไปสู่เอเชียกลางมากขึ้นเพราะมองโกเลียก็ยังได้เข้าร่วมในความตกลงนี้ด้วย
อนึ่ง Prof. Das ได้เสนอข้อมูลเพิ่มเติมด้านมูลค่าการส่งออกของอินเดียผ่าน APTA ว่ามีมูลค่า28พันล้านเหรียญสหรัฐใน ในปี 2014 ในขณะที่มีการนำเข้าจำนวน 61 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามข้อตกลงAPTAถือเป็นข้อตกลงการค้าเพียงหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงตลาดการค้าอินเดียและจีนเข้าด้วยกัน
ในขณะนี้เดียวกันทั้งสองประเทศก็ยังมีการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP:Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งเป็นข้อตกลงกับอีก 14 ประเทศอีกด้วย
Source: The Economic Times, 28 June, 2016
4. FSSAI ออกระเบียบใหม่สำหรับสารเติมแต่ง/วัตถุเจือปนในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
FSSAI proposes new limits for additives in alcoholic drinks
นิวเดลี : หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของอินเดีย (FSSAI) ออกประกาศแก้ไขกฎระเบียบวัตถุเจือปนอาหารในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ในที่นี้หมายรวมไปถึงไวน์และอื่นๆ
นาย Pawan Agarwal CEO FSSAI ที่มา : Livemint.com
ทั้งนี้FSSAI ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่างๆจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในระยะเวลา 30 วันในการร่างประกาศเกี่ยวกับสารเติมแต่งที่ใช้ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงประเภท Alcohol Free และ Low Alcohol โดยในกฎระเบียบได้ระบุสารเติมแต่งเพิ่มเติมจากเดิมลงไปในรายการ ในที่ได้ระบุประเภทที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไวน์องุ่นและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลั่นที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่มากกว่าร้อยละ 15
ก่อนหน้านี้ CEO ของ FSSAIนาย PawanArgarwalกล่าวว่าระเบียบข้อบังคับได้ถูกสรุปออกมาเป็นรายการมาตรฐานและเกณฑ์ของวัตถุเจือปนในอาหาร รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเกณฑ์ที่ออกมานั้นมีทิศทางไปในทางเดียวกันกับองค์การไวน์ระหว่างประเทศ (International Organisation of Vine and Wine, OIV) ต่อมาผู้ที่ดูแลระเบียบข้อบังคับด้านอาหารก็ได้เสนอกำหนดมาตรฐานของเครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสที่ไม่อัดก๊าซ (non-carbonated water-based beverages) ด้วยเช่นกันเพราะว่าเครื่องดื่มประเภทนี้มักประกอบไปด้วยน้ำตาล , liquid glucose (กลูโคสไซรัป) , fructose, น้ำผึ้ง , สารสกัดรสผักและผลไม้ และอื่นๆ ที่ผสมในน้ำดื่ม
Source : The Economic Times, 29 June 2016
สคร.นิวเดลี
มกราคม 2559
Disclaimer: การเผยแพร่ข้อมูลใน “สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการนาข้อมูลนี้ไปใช้