การจัดตั้งธุรกิจในอินเดีย
การจัดตั้งธุรกิจในอินเดีย
การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล
1. การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในประเทศอินเดียสามารถทำได้ใน 3 รูปแบบ ดังนี้
1.1 การจดทะเบียนจัดตั้งในรูปบริษัท (Company) ซึ่งจะเป็นการร่วมทุนกับบริษัทหรือนักธุรกิจอินเดีย หรือจะเป็นการถือหุ้นโดยคนไทยทั้งหมดก็ได้ สำหรับกิจการทั่วไปแล้ว ทางอินเดียไม่ได้จำกัดจำนวนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ในส่วนของธุรกิจก่อสร้างหากเป็นการก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารที่พักอาศัย ก็เป็นธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้ 100% แต่ถ้าเป็นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อาจต้องเป็นการร่วมลงทุนกับบริษัทอินเดีย
1.2 การจดทะเบียนจัดตั้งสำนักงานสาขา (Branch Office) การจัดตั้งสำนักงานสาขาของบริษัทต่างชาติในอินเดียสามารถทาได้ตามกฎหมายการจดทะเบียนนิติบุคคลของอินเดีย และจะต้องได้รับการพิจารณาจากหน่วยงาน Reserve Bank of India (RBI) หรือธนาคารกลางอินเดียก่อน
1.3 การจดทะเบียนจัดตั้งสำนักงานตัวแทน (Liaison Office) เช่นเดียวกับการจัดตั้งสำนักงานสาขาคือจะต้องได้รับอนุญาตจากทาง RBI ก่อน และสำนักงานตัวแทนมีข้อจำกัดในการดำเนินการเฉพาะในเรื่องของการประชาสัมพันธ์และหาลูกค้าให้บริษัทที่เป็นผู้จัดตั้งเท่านั้น ห้ามดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอื่นๆ
2. การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะงานสามารถทำได้โดยการจัดตั้งเป็นบริษัทหรือสำนักงานสาขาดังกล่าวข้างต้น
3. ในกรณีที่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นมีผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่เป็นคนต่างชาติ จะต้องได้รับการอนุญาตให้เข้าเมืองโดยวีซ่าประเภทนักธุรกิจ ซึ่งพิจารณาโดยหน่วยงาน Foreigner Regional Registration Office (FRRO) และจะต้องเสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายของอินเดีย ประมาณ 30% เช่นเดียวกับคนอินเดีย
4. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนหรือประกอบธุรกิจในอินเดียแล้ว จะมีสิทธิทางภาษีเหมือนกับคนสัญชาติอินเดียทุกประการ และจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีซ้อนระหว่างกัน ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการของ Double Taxation Avoidance Agreement (DTAA) ซึ่งไทยและอินเดียมีความตกลงร่วมกันอยู่
5. ขั้นตอนการปิดบริษัทสามารถดำเนินการได้ตามปกติตามที่ระบุขั้นตอนไว้กฎหมายของอินเดีย ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถโอนเงินส่วนที่เป็นกาไรสุทธิกลับไปยังประเทศตนได้ทั้งหมด
การเงิน การธนาคาร และการบัญชี
1. ธนาคารท้องถิ่นของอินเดียทุกแห่งมีการพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนหลากหลายประเภทและมีการให้บริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ตามแบบสากล ในส่วนของธนาคารจากประเทศไทย สาหรับเมืองมุมไบ มีธนาคาร กรุงไทย จากัด (มหาชน) สาขามุมไบ ให้บริการอยู่ด้วย
2. ข้อดีของการระบุสกุลเงินในสัญญาเป็นสกุลเงินท้องถิ่น คือ สะดวก ลดภาระและความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนข้อดีการระบุเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ คือ เป็นเงินสกุลหลักที่สามารถอ้างอิงได้เสมอ ทั้งนี้ หากเป็นการทำธุรกิจระหว่างบริษัทที่จดทะเบียนในอินเดียด้วยกัน ต้องทำสัญญาเป็นสกุลเงินท้องถิ่นอยู่แล้ว
3. ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกันธนาคารอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1-2 ต่อปี มีการใช้เช็คตามปกติ แต่ไม่มีการใช้ตั๋วอาวัล
4. กฎหมายหลักๆ ที่ควรศึกษา คือ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศอินเดีย กฎหมายด้านภาษี กฎหมายด้านการปริวรรตเงินตรา โดยศึกษาได้จาก Foreign Exchange Management Manual อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎหมายและระบบภาษีของอินเดียมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดมาก นักลงทุนควรว่าจ้างที่ปรึกษากฎหมาย หากจะมีการลงทุน หรือประกอบธุรกิจในอินเดีย
5. บริษัทที่จะสามารถมีบัญชีเงินตราต่างประเทศ (USD) ได้ จะต้องประกอบธุรกิจประเภท Import-Export โดยมีการซื้อขายเป็นเงินสกุลต่างประเทศเท่านั้น สำหรับบริษัททั่วไปไม่สามารถเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศได้ แต่ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถโอนผลกำไรในสกุลเงินท้องถิ่นกลับประเทศตนได้ไม่มีข้อจำกัด โดยแปลงสกุลเงินเป็น USD หรือ เงินบาท ได้ตามต้องการ
6. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6 ต่อปี
การจ้างงาน การขอเข้าประเทศ
1. อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาในการจัดตั้งบริษัท การขอใบอนุญาต การขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษี และอื่นๆ อยู่ที่ประมาณ 50,000 – 200,000 รูปี (1 รูปี = ประมาณ 0.7 บาท) ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของงานและความเชี่ยวชาญของที่ปรึกษา
2. ค่าแรงประเภทแรงงานไร้ฝีมืออยู่ที่ประมาณวันละ 50-100 รูปี สำหรับอัตราเงินเดือนพนักงานระดับปริญญาตรีโดยเฉลี่ยเริ่มต้นประมาณ 7,000 รูปี ต่อเดือน
3. สำหรับคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานในประเทศอินเดีย จะต้องได้รับการอนุญาตให้เข้าเมืองโดยวีซ่าประเภทนักธุรกิจ ซึ่งพิจารณาโดยหน่วยงาน Foreigner Regional Registration Office (FRRO) และจะต้องเสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายของอินเดีย ประมาณ 30% เช่นเดียวกับคนอินเดีย ปัจจุบัน ทางการอินเดียออกระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับแรงงานต่างชาติประเภทแรงงาน ไร้ฝีมือ แต่ก็มีผลกระทบไปถึงการจ้างงานประเภทอื่นๆ ด้วย
4. กฎหมายแรงงานของอินเดียกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนทดแทนร้อยละ 12 ของอัตราเงินเดือนของลูกจ้าง และตัวลูกจ้างต้องจ่ายร้อยละ 12 เช่นกัน โดยนายจ้างสามารถหักออกจากเงินเดือนและส่งเข้ากองทุนทดแทนรวมกันได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ
พฤษภาคม 2553
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1) ระเบียบการลงทุน - Consolidated FDI Policy
2) ระเบียบการเงินการธนาคาร - Foreign Exchange Management Act, 1999