เข้าใจโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวกับธุรกิจในอินเดียอย่างง่ายๆ ตอนที่ 1
การทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอินเดีย จำเป็นที่จะต้องเข้าใจเรื่องโครงสร้างภาษี เพื่อให้ทราบว่า จะต้องชำระภาษีอะไรบ้าง อัตราเท่าไร โดยเฉพาะในอินเดียถือว่าเป็นประเด็นหนึ่งที่อาจทำ ความหนักใจให้กับผู้ประกอบการอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเรื่องภาษีมีความยุ่งยากและซับซ้อนพอสมควร
ก่อนอื่นขอเริ่มที่ภาพรวมของการเก็บภาษีในอินเดียก่อน ภาษีที่จัดเก็บในอินเดียจะมีทั้งที่เก็บโดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น โดยทั่วไป รัฐบาลกลางจะเก็บภาษีหลักๆ เช่น ภาษีเงินได้ (Income Tax) ภาษีทรัพย์สิน (Wealth Tax) ภาษีดอกเบี้ย (Interest Tax) ภาษีกำไรจากส่วนทุน (Capital Gain Tax) ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) เป็นต้น ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นจัดเก็บ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ภาษี สิ่งฟุ่มเฟือย (luxury tax) เป็นต้น
ตารางที่ 1 ภาษีที่มีการจัดเก็บจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น |
||
ประเภทภาษี |
รัฐบาลกลาง |
รัฐบาลรัฐและท้องถิ่น |
Corporate Income Tax |
√ |
|
Dividend Distribution Tax |
√ |
|
Fringe Benefit Tax |
√ |
|
Wealth Tax |
√ |
|
Securities Transaction Tax |
√ |
|
Banking Cash Transaction Tax |
√ |
|
Profession tax |
√ |
|
Customs Duty |
√ |
|
Value Added Tax |
√ |
|
Central Sales Tax |
√ |
|
Service Tax |
√ |
|
Octroi |
√ |
|
Luxury Tax |
√ |
|
Vehicle Tax |
√ |
|
Entertainment Tax |
√ |
|
Advertisement Tax |
√ |
|
Research and Development Cess |
√ |
|
Union Excise Duty |
√ |
|
State Excise Duty |
√ |
|
Stamp Duty and Registration Fees |
√ |
|
Land Revenue |
√ |
|
Electricity Duty |
√ |
|
Municipal/Local Taxes |
√ |
|
Total |
11 |
12 |
ข้อมูลจาก FICCI และ PriceWaterHouseCoopers
สำหรับโครงสร้างทางภาษีที่เกี่ยวกับธุรกิจ หรือ Corporate Taxation นั้น ขอสรุปอย่างย่อๆ ว่า มีโครงสร้างหลักๆ อยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีธุรกิจ (Corporate Income Tax) ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) และภาษีอื่นๆ (Other Taxes)
โดยส่วนแรก คือ ภาษีธุรกิจ (Corporate Income Tax) นั้น ขอนำเสนอคร่าวๆ ดังนี้
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล: โดยปกติ บริษัทอินเดียจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ร้อยละ 30 รวมถึงต้องเสียค่าธรรมเนียม (Surcharge) และภาษีเพื่อการศึกษา (Education Cess) ด้วย ทำให้โดยรวมอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคลของบริษัทอินเดียอาจอยู่ที่ร้อยละ 30.90 หรือ 32.45 หรือ 33.99 ทั้งนี้ ขึ้นกับรายได้ของบริษัท
อย่างไรก็ดี บริษัทต่างชาติ ซึ่งจดทะเบียนในอินเดีย จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ร้อยละ 40 ซึ่งเมื่อรวมค่าธรรมเนียม (Surcharge) และภาษีเพื่อการศึกษา (Education Cess) แล้ว ทำให้โดยรวมอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคลของบริษัทต่างชาติอาจอยู่ที่ร้อยละ 41.20 หรือ 42.02 หรือ 43.26 ตามรายได้ของบริษัท
ตารางที่ 2 ค่าธรรมเนียม (Surcharge) ที่จัดเก็บ |
|||||
ช่วงการประเมินปี 2557-2558 |
ช่วงการประเมินปี 2558-2559 |
||||
หากรายได้สุทธิไม่ถึง10 ล้านรูปี |
หากรายได้สุทธิเกิน 10 ล้านรูปี |
หากรายได้สุทธิไม่ถึง 10 ล้านรูปี |
หากรายได้สุทธิอยู่ในช่วง 100 ล้านรูปี |
หากรายได้สุทธิเกิน 100 ล้านรูปี |
|
บริษัทท้องถิ่น |
ไม่เสีย |
ร้อยละ 5 |
ไม่เสีย |
ร้อยละ 5 |
ร้อยละ 10 |
บริษัทต่างชาติ |
ไม่เสีย |
ร้อยละ 2 |
ไม่เสีย |
ร้อยละ 2 |
ร้อยละ 5 |
หลักวิธีคิดง่ายๆ ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ (1) หากบริษัทอินเดียมีรายได้ 10,001,000 รูปี จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่ากับ 3,000,300 รูปี บวกค่าธรรมเนียม (surcharge) ร้อยละ 5 ของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะเท่ากับ 150,015 รูปี (๒) กฎหมายอินเดียกำหนดให้บริษัทที่มีรายได้เกิน 10 ล้านรูปี สามารถนำส่วนต่างของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เป็นฐานมาหักลบจากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทจะต้องเสีย เพื่อคิดเป็นค่าธรรมเนียมสุทธิ(net surcharge) และกำหนดมิให้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมสุทธิ เกิน 1,000 รูปี ซึ่งในกรณีนี้ คำนวณได้จากการนำภาษีเงินได้นิติบุคคล 3,000,300 รูปี ลบด้วย ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เป็นฐาน 3,000,000 รูปี เท่ากับได้ส่วนต่าง 300 รูปี จากนั้น นำมาหักลบกับ 1,000 รูปี จะได้อัตราค่าธรรมเนียมสุทธิ เท่ากับ 700 รูปี หรือเท่ากับว่าบริษัทได้รับการผ่อนปรนการจ่ายค่าธรรมเนียม (Marginal Relief in Surcharge) รวม 149,315 รูปี (3) จากนั้น จึงนำภาษีเงินได้นิติบุคคลบวกกับอัตราค่าธรรมเนียมสุทธิ ซึ่งในกรณีนี้ เท่ากับ 3,001,000 รูปี มาคำนวณภาษีเพื่อการศึกษาอีกร้อยละ 3 ซึ่งเท่ากับ 90,030 รูปี ดังนั้น โดยรวม บริษัทจะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น 3,091,030 รูปี
นอกจากนี้ บริษัทต่างชาติยังจะต้องชำระภาษีขั้นต่ำแบบทางเลือก (Minimum Alternate Tax หรือ MAT) ด้วย ซึ่งคิดคำนวณจากผลกำไรตามบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัท โดยทั่วไป MAT จะอยู่ที่ร้อยละ 19.06 หรือ 19.44 หรือ 20.01 ซึ่งรวมค่าธรรมเนียม (surcharge) และภาษีเพื่อการศึกษา (Education Cess) แล้ว
ตารางที่ 3 การเก็บภาษีขั้นต่ำแบบทางเลือก (Minimum Alternate Tax) ช่วงการประเมินปี 2558-2559 |
||||||||||||
หากผลกำไรไม่เกิน 10 ล้านรูปี |
หากผลกำไรอยู่ในช่วง 10-100 ล้านรูปี |
หากผลกำไรเกิน 100 ล้านรูปี |
||||||||||
IT |
SC |
EC+SHEC |
รวม |
IT |
SC |
EC+SHEC |
รวม |
IT |
SC |
EC+SHEC |
รวม |
|
บริษัทท้องถิ่น |
18.5 |
0.555 |
19.055 |
18.5 |
0.925 |
0.58275 |
20.00775 |
18.5 |
1.85 |
0.6105 |
20.9605 |
|
บริษัทต่างชาติ |
18.5 |
0.555 |
19.055 |
18.5 |
0.37 |
0.5661 |
19.4361 |
18.5 |
0.925 |
0.58275 |
20.00775 |
หมายเหตุ IT หมายถึง Income Tax ภาษีเงินได้ SC หมายถึง Surcharge หรือค่าธรรมเนียม
EC+SHEC หมายถึง Education Cess หรือ ภาษีเพื่อการศึกษา + Secondary and Higher Education Cess หรื่อภาษีเพื่อการศึกษาขั้นมัธยมและขั้นสูง
หลักการคำนวนง่ายๆ ของ MAT ก็คือ สมมุติว่า บริษัทมีกำไรตามบัญชี เท่ากับ 700,000 รูปี และภายหลังจากหักค่าเสื่อมและอื่นๆ แล้ว มีกำไรที่สามารถมาคำนวณภาษีได้ 400,000 รูปี ถ้าคำนวณเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 30 จะเท่ากับ 120,000 รูปี ขณะที่ในการคำนวนหา MAT จะเท่ากับ 129,000 รูปี โดยคิดจาก 700,000 รูปี ที่ร้อยละ 18.5 แล้วบวกด้วย ภาษีเพื่อการศึกษาและภาษีเพื่อการศึกษาขั้นมัธยมและขั้นสูง
2. หลักถิ่นที่อยู่: บริษัทที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศอินเดีย หรือดำเนินกิจการในอินเดียในช่วงรอบปีงบประมาณ คือ ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม ถือว่าเป็นบริษัทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศอินเดีย โดยบริษัทท้องถิ่น (Resident Companies) จะต้องจ่ายภาษีโดยคิดฐานภาษีจากเงินได้ทั้งในและนอกประเทศอินเดีย (global income) ขณะที่บริษัทต่างชาติ (Non-resident Companies) ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในอินเดีย จะเสียภาษีโดยคำนวณจากเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียเท่านั้น
3. การจ่ายภาษี: ทางการอินเดียกำหนดวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงภาษีไว้ คือ วันที่ 30 กันยายน ของทุกปี และขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน สำหรับบริษัทที่มีธุรกรรมด้านต่างประเทศ
4. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย หลายรายการ ได้แก่
4.1 เงินปันผล (Dividend): อินเดียไม่ได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายกับเงินปันผลจากผู้ถือหุ้น อย่างไรก็ดี บริษัทอินเดียที่ประกาศว่าจะจ่ายเงินปันผล จะต้องจ่ายภาษีจ่ายเงินปันผล (Dividend Distribution Tax หรือ DDT) ในอัตราร้อยละ ๒๐.๔๗ (และรวมค่าธรรมเนียมและภาษีเพื่อการศึกษาแล้ว) ทั้งนี้ การคิดภาษีเงินปันผลจะคิดคำนวณจากจำนวนเงินของหุ้นที่จ่ายเงินปันผลได้ทั้งหมด
4.2 ค่าสิทธิในการให้บริการทางเทคนิค (Royalty Fees for Technical Services หรือ FTS): บริษัทต่างชาติที่จ่ายค่าสิทธิ (FTS) มีหน้าที่นำส่งภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งโดยทั่วไปจะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 (ทั้งนี้ อัตราดังกล่าว อาจแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขที่ต่างกัน) โดยหากรวมค่าสิทธิ (FTS) กับค่าภาษีการศึกษา (Education Cess) และค่าธรรมเนียม (Surcharge) แล้ว อัตราภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าสิทธิอาจอยู่ในระดับร้อยละ 25.75 หรือร้อยละ 26.27
4.3 ภาษีดอกเบี้ย: โดยปกติบริษัทต่างชาติที่ปล่อยเงินกู้สกุลเงินต่างประเทศจะต้องจ่ายภาษีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 โดยเมื่อรวมกับค่าภาษีการศึกษา (Education Cess) และค่าธรรมเนียม (Surcharge) แล้ว อัตราภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายของภาษีดอกเบี้ยอาจอยู่ที่ร้อยละ 20.60 หรือ 21.01 อย่างไรก็ดี บริษัทต่างชาติอาจได้รับการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5 หากบริษัทต่างชาติดังกล่าวเป็นบริษัทผู้ให้เงินกู้แก่บริษัทอินเดียในรูปของสัญญาเงินกู้หรือการออกพันธบัตรโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว ซึ่งมีกำหนดจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 หรือการออกพันธบัตรระยาวในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 จนถึง 30 มิถุนายน 2560
4.4 การทำธุรกรรมซื้อขายซึ่งต่างจากราคาตลาด (Transfer Pricing): บริษัทที่ทำ Transfer Pricing ต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยใช้หลักการคำนวณเช่นเดียวกับหลักสากล คือ ใช้หลักปกติราคาตลาด (Arm’s Length Principle) เป็นวิธีคิดราคาโอนสินค้าระหว่างกันของนิติบุคคล และหักภาษี
ในตอนต่อไปจะนำเรื่องเกี่ยวกับภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) และภาษีอื่นๆ (Other Taxes) ของอินเดีย มาเสนอต่อไป
***************************
รายงานและเรียบเรียงจากข้อมูลของ บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย Altacit Global สาขาเมืองเจนไน
โดย ดร. พรพิมล สุคันธวณิช
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน