
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี
สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์
23-29กรกฎาคม2559 (อินเดีย)
1. อินเดียตระหนักถึงอันตรายมลพิษ ส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ Honda , Toyota และรายอื่นๆ
India's awakening to the perils of pollution has hit Honda, Toyota and other carmakers hard
ในปีที่ผ่านมาธุรกิจผลิตยานยนต์ในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูง มีผลสืบเนื่องจากการที่ราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อ และอัตราภาษีที่พร้อมใจกันปรับตัวลดลง ทำให้อินเดียมีเส้นทางสู่การเป็นตลาดยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลกภายในปี 2020 ได้ แต่ตัวเลขที่กำลังเติบโตนั้นกลับชะลอตัวลงในเดือนที่ผ่านมา ยอดขายเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6-7 เท่านั้น สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจาก เมื่อปลายปี 2015 ศาลฎีกาตัดสินห้ามรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลที่มีความจุของกระบอกเครื่องสูบเกิน 2000 CC ในเขตเมืองหลวงนิวเดลี ทั้งยังมีข้อกฎหมายที่กำหนดห้ามให้รถยนต์ใช้เชื้อเพลิงดีเซลที่มีอายุมากกว่า 10 ปีวิ่งบนท้องถนนในปีถัดมา ทำให้ยอดการขายรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลลดต่ำลงจากอยู่ที่ร้อยละ58 เป็นร้อยละ 41 นอกจากนี้ ผู้ผลิตยานยนต์ยังต้องเผชิญกับการกำหนดเกณฑ์การปล่อยก็าซเรือนกระจกอีกด้วย
จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น สร้างความผันผวนในธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอย่างมาก เนื่องจากอินเดียเริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นผลิตรถยนต์ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ก่อมลพิษ ทั้งนี้มีแนวโน้มสูงที่ข้อห้ามต่างๆเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานดีเซลนั้นจะถูกบังคับใช้ในเขตพื้นที่อื่นๆต่อไปความกังวลในเรื่องนี้ส่งผลให้หลายบริษัทเช่น Honda , Toyota , Mahindra & Mahindra, General Motors, Fiat-Chrysler, Hyundai, Maruti-Suzuki และ Ford ต่างก็อยู่ในขั้นตอนการวางแผนเพื่อที่จะลดจำนวนการผลิตและชะลอการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นออกไปก่อน
- หน่วยงานของอินเดียวางแผนในการปรับเปลี่ยนการใช้รถยนต์ที่ใช้ดีเซลและรถยนต์ที่ใช้เบนซินให้มีความสมดุลกันมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหามลภาวะจากก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากรถเก่าที่วิ่งอยู่บนถนนในกรุงนิวเดลี ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวจะส่งผลต่อการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ของรถยนต์ทุกค่ายที่ต้องมีการจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
- อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนของค่ายรถยนต์ต่างๆ ของอินเดียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจจะส่งผลต่อเนื่องไปยังห่วงโซ่การผลิตในการนำเข้าอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์จากประเทศไทยในอนาคต
Source : Economic Times, 28 กรกฎาคม 2559
2. รัฐบาลอินเดียตอบโต้โครงการท่าเรือ จีน-ปากี ที่ Gwada
Indian Government Countering China-Pakistan’s Gwada port project
นิวเดลี: เพื่อตอบโต้ต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนในละแวกภูมิประเทศใกล้เคียงอินเดีย ภายหลังจากที่จีนริเริ่มโครงการสร้างท่าเรือในประเทศปากีสถาน (Gwada seaport) ภายใต้ความร่วมมือ China-Pakistan Economic Corridor ประเทศอินเดียจึงเปิดกรุโปรเจคการสร้างท่าเรือที่รัฐ Vizhinjam ในบริเวณตอนใต้ของอินเดีย รวมถึงท่าเรือที่ Enayam โครงการดังกล่าวถูกร่างขึ้นมาแล้วเป็น เวลากว่า 25 ปี โดยในครั้งนี้รัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณในการดำเนินการสร้างเป็นจำนวนเงินกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการก่อสร้างท่าเรือที่ Vizhinjam รัฐ Kerala นั้น รัฐบาลอินเดียได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุน Gautam Adani จำนวน 16 พันล้านรูปี (240 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการโครงการท่าเรือดังกล่าว โดยรัฐบาลอินเดียเล็งเห็นว่าท่าเรือดังกล่าวจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ทั้งในด้านพาณิชย์และความมั่นคงของประเทศ
ประเทศอินเดียประกอบไปด้วยชายฝั่งยาวกว่า 7,500 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางหลักที่สามารถเชื่อมไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยเพื่อใช้ในการเดินเรือขนส่งสินค้า จากการริเริ่มของโครงการดังกล่าว รัฐบาลคาดหวังให้ภาคการเดินเรือคับคั่งกว่าเดิมร้อยละ 60 เพื่อเพิ่มจำนวนการส่งออกยานยนต์ และส่วนประกอบอื่นๆที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์
ทั้งนี้การที่อินเดียขาดท่าเรือที่สามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้ ทำให้การส่งของโดยตู้คอนเทนเนอร์จะต้องวิ่งอ้อมไปยังท่าเรืออื่นๆ ก่อนที่จะสามารถลำเลียงสินค้าเข้ามายังอินเดียได้ อย่างไรก็ตามการที่อินเดียจะสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ จะส่งผลดีต่อการขนส่งสินค้าในเชิงประสิทธิภาพ ทั้งยังขยายปริมาณการส่งออกและนำเข้าสินค้า และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการอื่นๆ
Source : Economic Times, 28 กรกฎาคม 2559
3. การเติบโตทางเศรษฐกิจจากภาคธุรกิจบริการในอินเดีย
Service industry will script economic revolution and not Make-in-India
นาย Nandan Nilekani นักธุรกิจและนักคิดของอินเดียได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียโดยอาศัยภาคธุรกิจบริการของอินเดียว่า หลายภาคส่วนมีความเชื่อว่าการที่เศรษฐกิจอินเดียจะเติบโตขึ้นได้นั้น สิ่งที่จำเป็นคือการเดินตามรอยเท้าประเทศจีน ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก แต่นาย Nandan Nilekani เชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมการบริการต่างหากที่จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอินเดียมากกว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างทางอายุของประชากรที่ต่ำกว่า หากเทียบกับประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบที่ประเทศอินเดียจะสามารถใช้ประโยชน์จากแรงงานในประเทศ เพื่อมาใช้ในอุตสาหกรรมการบริการ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความต้องการในแรงงานสูง
ดังนั้นการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมบริการดังกล่าวข้างต้น สามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้ในโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมบริการออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น Amazon และ Flipkart สำหรับการค้าขายของธุรกิจ SME , การขนส่งสาธารณะโดย Uber และ Ola สิ่งเหล่านี้จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและทำให้ภาคเศรษฐกิจของอินเดียเติบโตขึ้น
ด้วยเหตุนี้เองนักธุรกิจไทยที่ต้องการจะลงทุนในอินเดียจึงควรที่จะพิจารณาประเด็นดังกล่าวเหล่านี้ เมื่อการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการบริการนั้น อาจให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบการได้รวดเร็วกว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั่นเอง
Source : Economic Times, 28 กรกฎาคม 2559
สคร.นิวเดลี
มกราคม 2559
Disclaimer: การเผยแพร่ข้อมูลใน “สรุปข่าวเด่นรายสัปดาห์” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการนาข้อมูลนี้ไปใช้