ตอนนี้ในเมืองไทย อาจจะหาคนทานหมากได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ๆ แต่ใช่ว่าพื้นที่ที่เคยปลูกหมากต้องแปรเปลี่ยนไปเสียหมดทีเดียว เพราะในตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการหมากอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดอินเดีย ซึ่งประเทศไทยส่งหมากมาขายอินเดียไม่กี่พันตัน ในขณะที่มีการบริโภคหมากถึงปีละมากกว่า 3 แสนตัน เพราะนอกจากการบริโภคอย่างแพร่หลาย ยังมีการนำหมากมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ทำให้การผลิตในประเทศแม้จะมีสัดส่วนมากถึง 50% ของการปลูกหมากทั่วโลก ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ
“หมาก” (BETEL NUT) เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งมีรสฝาด พันธุ์ต้นหมาก ไม่มีชื่อเรียก แต่จะแบ่งตามลักษณะของผล คือผลกลมแป้น และผลกลมรี หรือแบ่งตามลักษณะของทรงต้น ก็จะแยกเป็นพันธุ์ต้นสูง พันธุ์ต้นเตี้ย และพันธุ์ต้นกลาง
หมากจะให้ผลเกือบตลอดปี ปลูกง่าย การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก โรคแมลงรบกวนน้อย ลงทุนไม่สูง จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง
ผลผลิตหมากนอกจากจำหน่ายเป็นหมากสดหรือหมากดิบแล้วยังมีการจำหน่ายเป็นหมากแห้งซึ่งการทำหมากแห้งมีความนิยม เพราะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยหมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทำยารักษาโรค และการใช้บริโภคในลักษณะของสมุนไพร โดยผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้น
ผลผลิตลูกหมากของอินเดีย
อินเดียเป็นประเทศที่มีผลผลิตลูกหมากประมาณ 50% ของผลผลิตลูกหมากทั้งหมดในโลกหรือ ประมาณ 330,000 ตันต่อปี โดยที่อันดับสองเป็นประเทศจีนมีผลผลิตประมาณร้อยละ 25 หรือประมาณ 162,250.-ตันต่อปี อันดับสามคือประเทศพม่าประมาณ 57,000.-ตันฯ รองลงมาคือบังคลาเทศ อินเดียนีเซีย ไทย และมาเลเซีย ที่มีผลผลิตฯประมาณ 51,000.- 41,000.- 26,000.- และ 1,300.-ตันต่อปี ตามลำดับ
รัฐทางภาคใต้ ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย จะมีพื้นที่ปลูกหมากและสร้างผลผลิตฯมากที่สุด นำโดยรัฐฯทางภาคใต้คือรัฐกรณาฏกะที่มีผลผลิตรวมเป็นร้อยละ 40 ของผลผลิตฯทั้งหมดของประเทศ และรัฐเกรละมาเป็นอันดับสอง ส่วน รัฐอัสสัมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นอันดับที่สาม และตามมาด้วยรัฐฯทางภาคตะวันออกคือรัฐโอริสสาและเบงกอลตะวันตก
การบริโภคภายในประเทศ
อินเดียปัจจุบันชนชั้นแรงงานยังนิยมกินหมากกันอยู่มาก และในเชิงธุรกิจ ก็มีการใช้หมากเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย ทำยารักษาโรคและการใช้บริโภคในลักษณะของสมุนไพร กล่าวคือ ลูกหมากเมื่อนำมาสกัดจะได้ไขมัน เมือก ยางและสารอัลคาลอยด์ ชื่อ ARECOLINE มีแทนนินสูง จึงสามารถใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำสีต่างๆ ใช้ย้อมแหและอวน ซึ่งทำให้นิ่มและอ่อนตัวและยืดอายุการใช้งาน ได้นาน เส้นด้ายไม่เปื่อยเร็ว นอกจากนี้ สามารถใช้สกัดทำยารักษาโรค เช่น ยาสมานแผล ยาขับพยาธิในสัตว์ ยาแก้ท้องเดิน ท้องเสีย ยาขับพิษ ยาทาแก้คัน น้ำมันนวด ยาขับปัสสาวะ และยาแก้ปากเปื่อย เป็นต้น
ดังนั้น ถึงแม้ว่าอินเดียจะมีผลผลิตลูกหมากเป็นจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่ง แต่การบริโภคฯก็มากมายมหาศาลเป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน โดยในแต่ละปีมีการบริโภค(Consumption) ประมาณ 330,000 ตัน ทั้งการบริโภคในลักษณะทั่วไปและในเชิงธุรกิจ ซึ่งทำให้อินเดียต้องนำเข้าสินค้าหมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การนำเข้าสินค้าหมากจากต่างประเทศ
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อินเดียมีผลผลิตหมากมากกว่า 3 แสนตันต่อปี แต่ก็ต้องนำมาใช้บริโภคภายในประเทศทั้งหมด แถมยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยนำเข้าทั้งหมากดิบและหมากแห้ง
ปี 2009-2010 อินเดียนำเข้าหมากฯจำนวน 29,845 ตัน รวมมูลค่า 14.67 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ สำหรับปี 2010-2011 อินเดียนำเข้าหมากฯจำนวน 66,249 ตัน หรือปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงปีก่อนถึงร้อยละ 122 โดยมีมูลค่ารวม 48.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงปีก่อนมากถึงร้อยละ 232
ทั้งนี้ อินเดียนำเข้าหมากฯจากต่างประเทศมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ประเทศบังคลาเทศ อันดับสองอินโดนีเซีย อันดับสามคือพม่า อันดับสี่ประเทศเนปาล ส่วนอันดับที่ห้าเป็นของประเทศไทย
การนำเข้าสินค้าหมากจากประเทศไทย
อินเดียนำเข้าสินค้าหมากแห้งจากประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยในปี 2010 (ม,ค. – ธ.ค.) อินเดียนำเข้าฯจากประเทศไทยประมาณ 5,701 ตัน รวมมูลค่า 3,731,340 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011 (ม.ค. – พ.ย.) อินเดียนำเข้าจากไทยประมาณ 2,684 ตัน รวมมูลค่า 3,227,657 เหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากข้อมูลการนำเข้าปี 2011 ยังไม่ครบปี และถึงแม้ปริมาณการนำเข้าจะลดลง แต่ด้วยราคาที่สูงขึ้น ดังนั้นมูลค่าการนำเข้าสินค้าหมากแห้งจากไทยเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2011 ก็น่าจะใกล้เคียงกับปี 2010
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
อินเดียยังคงต้องนำเข้าสินค้าหมากตราบใดที่ปริมาณผลผลิตฯยังน้อยกว่าปริมาณการ บริโภคภายในประเทศฯ โดยที่ประชากรอินเดียก็เพิ่มขึ้นปีละหลายล้านคน แต่พื้นที่ปลูกหมากทั่วประเทศประมาณ 290,000 เฮกเตอร์(1,812,500 ไร่) ยังก็เท่าเดิมและผลผลิตก็อาจจะ เท่าเดิมหรือน้อยกว่าซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของต้นหมาก สภาพแวดล้อม และความอุดมสมบูรณ์ของผืนดิน เป็นต้น ดังนั้นตลาดสินค้า “หมาก” อินเดียจึงเป็นตลาดสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ และต้องพยายามมองหาผู้นำเข้าที่ดี น่าเชื่อถือและศึกษากันและกันเป็นอย่างดีก่อนที่จะตกลงใจเจรจาเป็นคู่ค้าทำธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดไป
รายชื่อผู้นำเข้าสินค้าหมากในอินเดียบางส่วนข้างล่างนี้ที่เห็นควรนำไปศึกษา ว่าจะสามารถทำธุรกิจด้วยกันต่อไปได้หรือไม่ อย่างไร
Indian Importers of Betel Nut
Company/ Name
|
Address
|
Manglam Trades
(Mr. Anish Gupta, Director)
|
F. F – 26 B Somdatt Plaza
10 The Mall
Kanpur – 208 001
Tel : (91 512) 2305402, 2306007, 2303584
Fax : (91 512) 2305402
E-mail : manglam1@vsnl.net
|
K V Paints & Chemical Co.,Ltd.
(Mr. Kishan Chand, Director)
|
70 Najafgarh Road Industrial Area (Rama Road)
New Delhi – 110 015
Tel : (91 11) 2593 4095, 2542 9616
Fax : (91 11) 2593 4095
E-mail : kvpaints@rediffmail.com
|
Gupta Trading Company
(Mr. Baley Gupta)
|
2034, Katra Tobacco, Khari Baoli
Delhi – 110 006
Tel : 91 11 2391 6011, 91 92131 71822
Fax : 91 11 2394 3881
E-mail : guptacomputronix@yahoo.com
|
Naresh International
(Mr. Ajay Kumar, Partner)
|
497, Katra Ishwar Bhawan
Khari Baoli, Delhi – 110 006
Tel : 91 – 11 2398 4800
Fax : 91 11 2391 4800
E-mail : naresh@vsnl.com
|
R. T. C. Overseas Pvt. Ltd
(Mr. Sandeep Kundalia, Director)
|
2276 Gali Raghunandan
Naya Bazar, Delhi – 110 006
Tel : 91 – 11 2392 7978
Fax : 91 – 11 2392 7978
E-mail : rtcoverseas@yahoo.com
|
Second International
(Mr. Manish Koshal)
|
B – 5/4483, Vasant Kunj
New Delhi – 110 070
Tel ; 91 11 2689 8692
Mob : 91 98111 53104
E-mail ; secondinternational@gmail.com
Skype ID : manish koshal
|
Goel Exim Trade
(Mr. Pankaj Agrawal)
|
Takker Bhavan, Handloom Market
Andhibag, Nagpur 440 002
Tel ; 91 712 2663431, 2761136
Mob : 91 93732 10005
Fax : 91 712 2766124
|
Ashoka Foods & Pan Products Pvt. Ltd
|
46/30, Rajgaddi, Hatia
Kanpur – 208 001
Tel ; 91 512 2398065
Fax : 91 512 2398065
Mob : 91 98392 09500
|
International Trading Corporation
|
3028, Sector 19 / D
Chandigarh – 160 019
Tel : 91 172 2726105
Fax : 91 172 2726105
Mob : 91 93161 37984
|
General Traders
(Mr. Arvind Doshi, Managing Director)
|
22, Strotten Muthia Street
Chennai – 600 079
Tel : 91 – 44 25361755, 2538 2456
Fax : 91 – 44 2536 0533
E-mail : generaltraders@dishnetdsl.net
|
Jay Associate
(Mr. Suresh Shah, Managing Director)
|
C – 55, APMC Market – I
Phase II, Vashi, Mumbai – 400 705
Tel : 91 – 22 2765 1827
Fax : 91 – 22 5590 1827
E-mail : jayayshah274@hotmail.com
|
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี