
สืบเนื่องจากการหารือระหว่างภาคเอกชนไทยและนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2555 ซึ่งเอกชนไทยหลายบริษัทได้ยกประเด็นเรื่องอุปสรรคต่างๆ
ในการทำธุรกิจในอินเดียขึ้นหารือกับรัฐบาล และได้ขอให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้เอกชนไทยในอินเดีย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ได้จัดทำตารางสรุปประเด็นต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาของบริษัทไทยในอินเดีย และได้ยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในที่ประชุมทีมประเทศไทยในกรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555
ที่ประชุมทีมประเทศไทยได้ร่วมพิจารณาการแบ่งงานระหว่างหน่วยราชการที่ควรรับประเด็นต่างๆ ไปดำเนินการต่อ
หนึ่งข้อสรุปสำคัญที่ได้จากที่ประชุม คือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี
จะดำเนินการจัดจ้่่างบริษัทที่ปรึกษาอินเดีย เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ
ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดช่องทางติดต่อกับหน่วยราชการอินเดียที่เกี่ยวข้อง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงผู้ที่มีอำนาจสั่งการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
ลำดับ
|
ปัญหา/ ผู้ได้รับผลกระทบ/ ข้อเสนอแนะ
|
หน่วยงานรับผิดชอบ
|
1.
|
การขอรับตรวจลงตราประเภททำงาน (CP ITD KTB พฤกษา ไทยซัมมิท)
- เงื่อนไขเงินเดือนขั้นต่ำ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี
- ความล่าช้าในการพิจารณาของ สอท. อินเดีย/ ประเทศไทย
|
- สถานเอกอัครราชทูต (สอท.) ณ กรุงนิวเดลี ประสานกับกระทรวงมหาดไทยอินเดีย
- กระทรวงการต่างประเทศประสาน สอท. อินเดียในประเทศไทย
|
2.
|
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (CP ITD)
- การกำหนดให้สมทบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากฝ่ายนายจ้างร้อยละ 12.5 และลูกจ้างร้อยละ 12.5
- ลูกจ้างจะสามารถได้รับเงินคืนได้ต่อเมื่ออายุ 58 ปี โดยส่วนหนึ่งเป็นเงินก้อน อีกส่วนหนึ่งเป็นบำนาญ
- หากไม่ลงทะเบียนตรวจลงตราประเภททำงานกับทางการอินเดียจะไม่มีสิทธิได้รับเงินคืน
|
- สำนักงานประกันสังคมไทยทบทวน พรบ ที่เกี่ยวข้อง ประสาน/ เจรจากับ Ministry of Overseas Indian Affairs ในประเด็นที่สามารถทำร่วมกันได้
|
3.
|
อัตราภาษีการนำเข้าวัตถุดิบ (Rockworth, EPG) และสินค้า (ศรีไทยฯ) ซึ่งไม่อยู่ในกรอบเจรจาการค้าเสรีไทย-อินเดีย 82 รายการ
|
สำนักงานการค้าต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี ประสานกับหัวหน้าคณะเจรจา FTA ไทย-อินเดีย เพื่อตรวจสอบรายการสินค้าที่ บริษัททั้ง 3 เรียกร้องและยกขึ้นเจรจาลดภาษีให้เป็นผลสำเร็จ
|
4.
|
ความไม่แน่นอนของการประเมินภาษีรายได้ของบริษัท อาทิ การประเมินภาษีรายได้โดยไม่รวมภาษีที่ได้หักออก ณ ที่จ่าย ทำให้ภาษีที่ประเมินสูงกว่าจริง (KTB)
|
สอท. ณ กรุงนิวเดลีประสานกับกระทรวงการคลังอินเดีย
|
5.
|
การอนุมัติซื้อ-ขายที่ดินให้แก่นักลงทุนต่างชาติ (พฤกษา ไทยซัมมิท ศริไทยฯ)
- กฎหมายและขั้นตอนในการขออนุญาตซื้อ-ขายที่ดินมีความซับซ้อน ไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานและผู้มีอิทธิผลในพื้นที่ขู่เข็ญ/ ขูดรีดนักลงทุน
- การขาดแคลนที่ดินอุตสาหกรรม แม้ว่านักลงทุนจะมีความต้องการและมีเงินซื้อ
ข้อเสนอแนะของภาคเอกชน
- ให้รัฐบาล อด. จัดทำ one-stop service licensing
- เอกชนไทยเข้ามาพัฒนาที่ดินในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ครบวงจร โดยร่วมกันมาหลายบริษัทในลักษณะ consortium ที่มีบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโครงการที่พักอาศัย ขายปลีก ฯลฯ จักได้มีเงินลงทุนและน้ำหนักต่อรองมากขึ้น
|
สอท. ณ กรุงนิวเดลี เป็นผู้ดำเนินการ (ได้เสนอปรับแก้งบโครงการ Destination Thailand เป็นการจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ของอินเดีย เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินการอีกช่องทางหนึ่ง)
สอท./ สถานกงสุลใหญ่ที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ดำเนินการ
|
6.
|
- การเจรจาเรื่องสิทธิการบินระหว่างไทย-อินเดีย (บางกอกแอร์เวส์)
|
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ/ กรมการบินพลเรือน ยกขึ้นเจรจากับกรมการบินพาณิชย์อินเดีย
|
7.
|
การเก็บภาษีซ้ำซ้อนในการส่งเงินปันผลกลับประเทศไทย (พฤกษา)
|
กระทรวงการคลัง
|
แจ่มใส เมนะเศวต
www.thaiindia.net